วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ยานยนต์ลาดตระเวนโจมตีเคลื่อนที่เร็ว 'บัคกี้'



ยานยนต์เคลื่อนที่เ็ร็วทางยุทธวิธี

รถบัคกี้ (Buggy) เป็นยานยนต์ที่มีความคล่องตัวสูง สร้างทดแทนง่าย คือ สามารถพัฒนาและผลิตได้จาก
วัสดุที่จัดหาจากท้องตลาด และดำเนินการผลิต โดย สรรพาวุธ ทบ. ร่วมกับ บริษัทผลิตรถยนต์ ภายในประเทศ
เราเอง เดือนหนึ่งสามารถสร้างได้เป็น 100 คัน ซึ่งราคารถเปล่าไม่รวม
เครื่องมือสื่อสาร และระบบอาวุธที่ติดตั้ง
ทั้งหลาย
เบ็ดเสร็จงบประมาณต่อคัน ไม่เกิน 500,000 บาท  ราคา ขั้นต่ำสุด 200,000 บาท  ก็สามารถสร้างได้ 

 photo FavThaiblack800_zps6ee65119.jpg
แบบตัวอย่างนี้ ผู้เขียน(รุ่งศิลา) ดัดแปลงมาจาก ยานยนต์โจมตีความเร็วสูง FAV
(Fast Attack Vehicle) ของหน่วย นาวีซีล ยูเอส. (United States Navy SEALs)

รายละเอียดรถลาดตระเวณโจมตีเคลื่อนที่เร็ว

พลประจำรถ : จำนวน 2 นาย : พลขับ พลปืนกล
ระบบขับเคลื่อน  : 2 ล้อหลัง เครื่องยนต์ท้าย
เครื่องยนต์เบนซิน ขนาดความจุ 1300 - 1500 ซีซี.
ล้อรถ : ยางตันหล่อดอก 4 ล้อ
อาวุธ : ติดปืนกลเบา เนเกฟ ขนาด 5.56 มม. จำนวน 2 กระบอก บนช่องพลยิงบนหลังคารถ
          และ บริเวณกระโปรงหน้าที่นั่งด้านข้างพลขับ อาวุธอาจเปลี่ยนเป็น ปืนกล เอ็ม-60
  เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม. ยิงเป็นชุด และ ปืนกลหนัก M2 Browning .50 Cal
อาวุธประจำกายพลประจำรถ : ปืนพกสั้น 9 มม.ซองหน้าอก และปืนไรเฟิลพับฐานขนาด 5.56 มม
โครงรถ  : เหล็กเหนียว หรือ อลูมิเนียมอัลลอย
ระบบไฟ : แบตเตอรรี่แห้ง 12 โวลต์
ไฟส่อง   : ไฟหน้า4ดวง ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ตามมาตราฐานรถยนต์ สามารถเพิ่มไฟสปอร์ตไลต์ได้ตามภาระกิจ
ระบบสื่อสาร : ติดวิทยุสื่อสารตามแบบมาตราฐานของ ทบ. พร้อมชุดปากพูดหูฟังประกอบศรีษะ

สามารถจัดรูปแบบปฏิบัติการในลักษณะ หมู่ลาดตระเวนยานยนต์ระยะไกล ใช้ ยานยนต์ บัคกี้ 2 คัน และ
มอร์เตอร์ไซด์ 3 คัน จัดขบวนเป็น 1 หมู่ลาดตระเวณไกล เสริมด้วย ฮ.บินคุ้มกันและกู้ภัย ปฏิบัติภารกิจ


และ จัด หมู่ย่อยลาดตระเวนคุ้มกัน ใช้ ยานยนต์บัคกี้ 1 คัน และมอเตอร์ไซด์ 2 คัน ในภารกิจแบบเดียวกับ
กรณีโจรใต้ขับรถปิคอัพประกบยิงมอเตอร์ไซต์ทหาร ชุดลาดตระเวน สังกัด ร้อย.ร.15321 ฉก.ปัตตานี 25
ในเช้าวันที่
28ก.ค.55 เวลา 06.50 น. จนเป็นเหตุให้ ทหารเสียชีวิต 4 นาย และบาดเจ็บ 2 นาย ที่ อ.มายอ
จ.ปัตตานี
จากภาพวิดิโอ


     

ข้อดี
  • ประหยัดงบประมาณ สามารถสร้างทดแทนได้ในระยะเวลาสั้นจำนวนมาก ในราคาถูก
  • เสริมศักยภาพการพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมพัฒนาการผลิต มิต้องพึ่งพาเทคโนโลยี่จากต่างประเทศ(ยกเว้นระบบอาวุธ)
  • ความคล่่องตัวสูง เป็นยานยนต์ที่สามารถวิ่งได้ในแทบทุกภูมิประเทศ
  • ค่าใช้จ่ายถูก ในปฏิบัติการ, บำรุงรักษา, ค่าเชื้อเพลิง ถูกกว่าพาหนะอื่น :- Reva 4x4 , Humvee , V-150
  • เสริมสร้างขวัญกำลังใจ ของกำลังพล ด้วยศักยภาพในการต่อสู้ ลดทอนอันตราย และความเหนื่อยล้า
       จากการเดินลาดตระเวณ

ข้อจำกัด
  • ตะปูเรือใบ ปรับเปลี่ยนยางเป็นยางตัน
  • ไม่มีเกราะหุ้ม ชดเชยด้วยความเร็ว ความคล่องตัว ระบบสื่อสาร กล้องมองในความมืด
  • กับระเบิด จ้ดรูปขบวนทิ้งระยะห่าง ให้สามารถเสริมกำลังทดแทน ช่วยเหลือกันได้
  • กรณีฉุกเฉิน สามารถร้องขอชุด ฮ.บิน สนับสนุน คุ้มกัน และกู้ภัย

    การส่งทางอากาศเข้าพื้นที่เป้าหมาย
                       ด้วยความรวดเร็ว เพื่อความได้เปรียบทางยุทธวิธี 


                    ฮ.ชินุค CH-47 Chinook โดยขอเกี่ยวใต้ลำตัว น้ำหนักยกหิ้วภายนอก 10.5 ตัน
ทบ.ไทย มี ซีเอช-ชินุค จำนวน 6 ลำ แต่ไม่สามารถบินได้ครบทุกลำ เพราะขาดงบประมาณบำรุงรักษา


           ยูเอช-60แอล แบล็คฮอว์คUH-60 L หรือ S-70A-43 สามารถบรรทุกสินค้าได้ 1,170 กิโลกรัม
หรือขนสินค้าแบบห้อยได้ 4,050 กิโลกรัม(ได้รับการปรับปรุงเป็น UH-60 M แล้วทั้งหมด) จำนวน 8 ลำ ประจำการ
ณ.กองบินปีกหมุนที่ 9(ผสม) จังหวัดลพบุรี

    

 photo Ringmount2.gif
  แบบช่องพลยิงบนหลังคา รถบัคกี้ สามารถตรวจการและทำการยิงต่อสู้ได้รอบทิศทาง 360 องศา

 รถหุ้มเกราะ APC 4x4 REVA MK lll ติดปืนเล็กกลเนเกฟ จากอิสราเอล ที่ ป้อมปืน หน้า-หลัง 2จุด


 
ยุทธวิธีของผู้ก่อความไม่สงบภาคใต้ ที่มักใช้ได้ผล ในการลอบสังหารเจ้าหน้าที่
ทหาร ตำรวจ และประชาชนบนท้องถนน



ยานลาดตระเวนโจมตีเคลื่อนที่เร็ว ชนิดต่างๆ



บทความรุ่งศิลา Aug 02, 2008




         ผมนำเสนอ ยานยนต์ "บัคกี้" ชนิดนี้เพื่อนำมาเสริมข้อจำกัด การใช้รถจักรยานยนต์ 2 ล้อ
         เพื่อภารกิจลาดตระเวณคุ้มครองและโจมตีตอบโต้ ของเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจผู้ปฏิบัติงาน
         ภาคสนาม ดังตัวอย่างภาพ และ

         กรณี ล่าสุดจากคลิปวิดิโอ ที่ทหารชุดคุ้มครองครู ถูกลอบโจมตี ในภาพนั้นจะเห็นได้ว่า
         ยุทธวิธีของผู้ก่อความไม่สงบ ได้ ขับรถเข้าเทียบจากด้านหลังมุมมองตรวจการของ
         ทหาร และลงมือปฏิบัติการยิง ด้วยความรวดเร็วหนาแน่น
กระนั้นถึงแม้ว่าพลขับและพลปืน
         ซ้อนท้ายจะเห็น ก็ยากที่จะทำการต่อสู้ป้องกันตัวได้ในลักษะการการโจมตีจากทางด้านหลัง


การใช้ยานพาหนะเคลื่อนที่เร็ว คล่องตัว ขนาดปานกลาง ติดอาวุธปืนกล และอาวุธหนัก
(เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม.)  มีทัศนะวิสัยในการใช้อาวุธเข้าป้องกันต่อตี ได้รอบทิศทาง 360 องศา สามารถ
วิ่งลัดเลาะนอกพื้นผิวถนน บนทางวิบาก ทุรกันดาน ในเรือกสวนไร่นา สวนยาง จึงมีความจำเป็นในการเสริม
ข้อจำกัด ของการใช้จักรยานยนต์เพียงชนิดเดียวในการปฏิบัติภารกิจ


มิใช่การนำมาทดแทนยานยนต์หุ้มเกราะชนิดต่างๆ ที่มีใช้กันอยู่ ซึ่งมีความแตกต่างกันมากในข้อจำกัด ด้าน
ค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าสึกหรอของชิ้นส่วนอะไหล่ และด้านจำนวนที่มีใช้อย่างพอเพียง

เป็นการจัดหาได้อย่างเร่งด่วน จากภูมิปัญญาและทักษะ รวมถึงความรู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี่ การผลิต ของ
ยานยนต์ "บัคกี้" นี้ ภายในประเทศแทบทุกชิ้นส่วน และช่างฝีมือผู้ชำนาญมิต้องใช้งบประมาณและทรัพยากร
หรือโนว์ฮาวจากต่างประเทศใดๆทั้งสิ้น

ท่านผู้ใหญ่ผู็้โตทั้งหลายโดยเฉพาะในกองทัพ ลองใจกว้างเจียดค่าคอมมิชชั่นฟันตามน้ำ โยนเศษสตังส์ ซัก 50
ล้านบาท ก็จะได้ "รถบัคกี้" ยานยนต์เคลื่อนที่เ็ร็วทางยุทธวิธี ชนิดนี้กว่า 100 คัน ดีกว่าให้ลูกน้องเณร ลูกอีสาน
มาเสี่ยงตายแบบไร้ทางสู้ บนอานมอเตอร์ไซต์ ซึ่ง วิ่งไว แต่ไร้พิษสง



                     ** ปล. บทความนี้ ผมเขียนมาตั้งแต่ วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ... รุ่งศิลา




  ผมมิได้บังอาจนำเสนอการแก้ปัญหา ไฟใต้ ซึ่งคุกรุ่นมาเป็นร้อยปีแล้วนับแต่มีการครอบครอง
เมืองปัตตานี และปลดชนชั้นปกครองในพื้นที่เดิม ผมเพียงนำเสนอ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างเร่งด่วน
ด้วย ภูมิปัญญาไทย ด้วยงบประมาณอันจำกัดน้อยนิด เพื่อรักษาชีวิตไพร่พล ลูกหลานชาวบ้านจากภาค
ส่วนอื่นของประเทศทุยแลนด์แดนตอแหลนี้ไว้ให้ได้มากที่สุด

ส่วนท่านผู้รู้กรุณานำเสนอ ยานยนต์และยุทธวิธี อื่นๆทั้งหลายทั้งสิ้น ต้องขอขอบพระคุณมา ณ.โอกาสนี้
เพียงแต่กรุณาดูข้อมูลที่จะทยอยนำมาให้ด้วย



นี่คือสภาพ รถหุ้มเกราะ APC4x4 REVA MK lll เป็นยานยนต์ล้อยางลำเลียงพลหุ้มเกราะที่ผู้ขายนำเสนอ
แก่
ผู้นำกองทัพ อย่างพอใจเจือสมด้วยกันทั้งสองฝ่ายซึ่งบรรยายสรรพคุณ ว่าสามารถป้องกันแรงระเบิด
น้ำหนักถึง 14-15กก.(นน.ของระเบิด)  โดยเฉพาะบริเวณใต้ท้อง
รถ  ซึ่งเหมาะกับการนำมาใช้กับสภาวะที่ 
กลุ่มคนร้ายมักใช้แผน ขุดหลุมฝังระเบิดแสวงเครื่อง
ใต้พื้นผิวถนน  ... ชนิดล่าสุด และกันระเบิดดีที่สุดที่มี

REVA  ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องทหารจากสงครามกองโจรโดยเฉพาะ ทั้งดักซุ่มยิง กับระเบิดและระเบิด
แสวงเครื่อง IED



รถหุ้มเกราะ APC 4x4 REVA นับเป็น ยานพาหนะทหารที่คุ้มครองชีวิตจนท.ทหารไทยที่ดีที่สุด เท่าที่
กองทัพไทย
มีปัญญาซื้อ จำนวน 85 คัน ราคาคันละ 11 ล้านบาท (ฮัมวี่ 4 ล้านบาท) ทบ.ได้รับส่งมอบ จาก
บริษัทผู้ผลิตในอาฟริกาใต้ทั้งสิ้น ในปี 2552 ส่งลงไปภาคใต้ทั้งหมด ใช้ในภาระกิจ
ลาดตระเวณ และชุดคุ้ม
ครอง ซึ่งยังไม่พอเพียงกับภารกิจใช้งาน


** ปล.ทหารในพื้นที่ เขาบอกอยากได้ไว้ใช้เยอะๆครับ ซัก 500-600 คัน ถึงจะพอใช้
งานทั่วถึง แต่ติดขัดตรงกองทัพ ไม่มีปัญญาหามาให้ ถึงหามาได้ก็ไม่มีน้ำมันจะเติมครับ
เพราะซดน้ำมันเชื้อเพลิง น้องๆรถถังเบา
ลองหลับตานึกดูนะครับ วิ่งทุกคันวันละ 2 เที่ยว ๆละ10กม. เป็นเงินงบประมาณวันละเท่าไร?

          

IED หรือ ระเบิดแสวงเครื่อง เรียกเต็มๆว่า Improised Explosive Device
ถูกใช้กันมาก ในกลุ่มผู้ก่อการร้าย (โดยเฉพาะสงครามในตะวันออกกลาง) โดยเป้าหมายหลักในการทำลาย
คือ กลุ่มกองกำลังทหาร และ ยานพาหนะ รวมถึง รถถังขนาดใหญ่ กลุ่มก่อการชั่วร้าย  สามารถทำการวาง
กับระเบิดชนิดนี้ไว้ได้ในหลายพื้นที่ เช่น ข้างทาง บนถนน ในพุ่มไม้ หรือในที่ๆ กองกำลังศัตรู ใช้เป็นทางผ่านอยู่
เป็นประจำ เมื่อศัตรูเข้าใกล้เป้าหมาย กลุ่มก่อการร้ายก็จะทำการจุดชนวนระเบิดทันที ความเสียหายที่ได้รับมีมาก
มาย  ถ้าเป็นกองทหารก็คงเหลือแค่เศษเล็กเศษน้อย หากเป็นยานพาหนะก็อาจทำให้เสียหายทั้งคัน รวมถึงรถถัง
ก็ไม่สามารถต้านทานได้ เพราะจุดอ่อนของรถถังก็คือ บริเวณใต้ท้องเมื่อเกิดการระเบิดก็ทำให้ได้รับความเสียหาย
อย่างหนัก


    
ภาพตัวอย่าง ระเบิดแสวงเครื่อง ที่ใช้ลูกปืนใหญ่เป็นวัตถุระเบิดหลัก


ภาพตัวอย่าง การวางระเบิดแสวงเครื่องลอบโจมตีขบวนยานยนต์






         คันนี้เป็น DPV (Desert Patrol Vehicle) ของ หน่วยซีล เม'กานาวี สุดยอดหน่วยรบพิเศษระดับโลก
ของเขา ติดอาวุธหนักครบเครื่อง ประเภทเล็กพริกขี้หนู อาวุธปราบรถถังหนัก ชนิดนัดเดียวจอด และ สอย
อากาศยานระดับต่ำ เช่น เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินที่บินต่ำข้ามหัวได้ร่วงหมดทุกชนิดด้วย จรวดขีปนาวุธ
ชนิดประทับบ่า พื้นสู่อากาศ
,เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม. ยิงเป็นชุด และ ปืนกลหนัก M2 Browning
ชนาด.50 Cal พลประจำรถ 3 นาย มีชื่อเสียงการรบสมัย สงครามอ่าว อิรัคบุกคูเวต ปี 1991


   
   





     Posted Image

Posted Image เงินที่ซื้อลูกโป่งรั่วใบนี้ นำมาจัดซื้อ "รถบัคกี้" ตามแบบติดตั้งอาวุธพร้อมอุปกรณ์
วิทยุสื่อสาร กล้องมองกลางคืน และิื่อื่นๆได้เต็มอัตราศึก มากกว่า 500 คัน ยังเหลือ เงินสด
สั่งซื้อน้ำมันสงคราม ในราคาทุนไม่ต้องเสียภาษี เติมใส่รถรบทั้งหมด วิ่งได้ครบปีพอดี ครับ



โดย malee mala เมื่อ พุธ, 01/08/2012 - 16:00 prachatalk.com
Posted Image
malee mala .. ถ้ามอเตอร์ไซต์แบบนี้ล่ะคะ คุณ rungsira
มีความเร็วแค่ไหนและสะดวกกว่าซ้อนท้ายที่สามารถใช้อาวุธในมือได้สะดวกกว่าไหม ?



Posted Image
รุ่งศิลา .. ไม่เหมาะกับเส้นทางทุรกันดาร การบังคับขับขี่ยากทำความเร็วได้จำกัด เพราะ
การทรงตัวยึดเกาะถนนต่ำ ...  สังเกตุดูรถพ่วงข้างมอเตอร์ไซต์ชาวบ้าน บ้านเราดูนะครับ
พลปืนหมุนตัวกลับทำการยิง รอบทิศทางค่อนข้างลำบาก ขาดความฉับไวในการตอบโต้
โดยเฉพาะด้านข้างซ้ายของพลปืน นั้นทำการยิงไม่ได้เลย ร่างพลขับบังวิถีและทัศนวิสัย 



    กลายเป็นความจริงเสียแล้ว ...ฺี Buggy ของ คนเขียนฝัน

 photo Clip_13_zpsc95746da.jpg

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โชว์นวัตกรรม
ป้องกันประเทศชิ้นใหม่ ทั้งยานยนต์ลาดตระเวนจู่โจมทางยุทธวิธีขนาดเบา ที่เตรียมนำไปใช้ใน
พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  


ยานยนต์ลาดตระเวนจู่โจมทางยุทธวิธีขนาดเบา ถูกนำมาทดสอบสมรรถนะเป็นครั้งแรก และหลัง
จากนี้จะนำไปทดสอบอีกครั้ง ในสนามทดสอบค่ายธนะรัชต์  เพื่อประเมินผลการทำงาน ก่อนนำลงพื้นที่
ปฏิบัติภารกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมช่วยชาติที่พัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์
พลศาสตร์  เลิศประเสริฐ ร่วมกับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
ทหารลาดกระบัง 
โดยลักษณะของยานยนต์นี้ใช้กระจกกันกระสุน สามารถบรรทุกกำลังพลได้ 3 คน คือพลขับ ผู้ควบคุม และ
พลปืน ขนาดเคลื่อนยนต์ 1,500 ซีซี สามารถเคลื่อนด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ผู้พัฒนายานยนต์ลาดตระเวน คาดว่ายานยนต์ชนิดนี้ จะเป็นที่ต้องการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เนื่องจากสามารถสนับสนุนงานได้ในหลายภารกิจ เพราะสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์
และการดูแลรักษาไม่ซับซ้อน เพราะชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ สามารถหาได้ภายในประเทศ
   
 photo Clip_14_zpsd40768a5.jpg

อ่านแบบเต็มๆพร้อมภาพประกอบ ที่นี่
http://www.konthaiuk.eu/forum/










1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอแสดงความยินดีกับประเทศ ที่สถาบันพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง นำความคิดและดีไซน์ของผม ไปต่อยอดครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ ผู้เสียสละ ... รุ่งศิลา