วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เสียมก๊ก ตอน "ลิโป้ปด" อ้ายลูก3พ่อ พ่อตัว,พ่อตา,พ่อตาปลอม

 

                                                                   ตอน
"ลิโป้ปด" อ้ายลูก 2แม่ 3พ่อทรราช
                        “กูจักฆ่าเสียสักหมื่นศพขี้ข้า หากแม้นว่าเหิมเกริม" อ้ายขุนพลชอบเลีย ลิโป้ปด

        ลิโป้ (จีน: 吕布; อังกฤษ: Lü Bu; ค.ศ. 150 - 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 198)
     ยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่า แข็งแกร่งที่สุดแห่งยุคสามก๊ก หรือเป็น เทพเจ้าแห่งสงคราม มีสำนวนในสามก๊ก
กล่าวไว้ว่า“หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์
ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินแห่งยุค แต่น่าเสียดายที่ในยุคสามก๊กนั้น
ความแข็งแกร่งในเชิงยุทธ์ เพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้ใครคนใดเป็นใหญ่ในแผ่นดินหรือแม้แต่เอาชีวิตให้รอด
ได้ เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ คนโง่ต้องกลายเป็นเหยื่อของคนฉลาดอย่างแท้จริงซึ่งเต็มไปด้วยเล่ห์กลโกงมากมาย 

สาเหตุนี้ ลิโป้ ยอดนักรบอันดับหนึ่งของแผ่นดิน  จึงไม่อาจที่จะบรรลุความฝันในการเป็นใหญ่ หรือแม้แต่ เพียงแค่
การจะเอาชีวิตให้รอด เขาก็ไม่อาจทำได้
                                
        ลิโป้ แม้จะเป็นคนเก่ง แต่ก็เป็นคนหยาบช้า ขาดคุณธรรม และไร้สติปัญญา เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นบุคคล
ที่เตียวหุยด่าว่าเป็น"ไอ้ลูกสามพ่อ"จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน
และเต๊งหงวนไว้ใจถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองคำ
กับ ม้าเซ็กเธาว์ เป็นสินบลกำนัล  ลิโป้ก็ยอมทรยศ เชือดคอเต็งหงวนคาห้องนอนขณะอ่านหนังสือ แล้วหิ้วศรีษะมา
สวามิภักดิ์ตั๋งโต๊ะ โดยเรียกตั๊งโต๊ะว่า "พ่อ"

         พร้อมแต่งตั้งตำแหน่งให้ลิโป้เป็น “แม่ทัพกองทหารม้ารักษาพระราชวัง”  ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัย
นครหลวงลกเอี๋ยง
ควบตำแหน่งองครักษ์ประจำตั และรับลิโป้เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อตั๋งโต๊ะได้ตัวลิโป้มาก็เหมือน
พยัคฆ์ติดปีกมีอำนาจอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่เกรงกลัวใครหน้าไหนอีกจึงทำการถอดหองจูเปียนออกจาก
บัลลังค์ฮ่องเต้ และตั้ง หองจูเหียบ ขึ้นเป็นฮ่องเต้แทนมีพระนามว่า “พระเจ้าเหี้ยนเต้"

        ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม(เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วย
มือตนเอง ด้านลิโป้เมื่อสังหารตั๋งโต๊ะเสร็จ ตนก็ไร้หลักยึด ต้องหลบหนีไปพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งก็คือ เล่าปี่  แต่ลิโป้ก็ไม่ได้
เชื่องกับเล่าปี่ และเป็นที่ระแวงเสมอ ขณะที่เล่าปี่รบกับโจโฉก็มีลิโป้อยู่ที่เมืองเสียวพ่ายเป็นหอกข้างแคร่ไว้ใจไม่ได้

กระทั่งชะนวนเหตุประทุ เมื่อโจป้าพ่อตาลิโป้ถูกเตียวหุยบังคับให้ดื่มเหล้า ทั้งที่มีคำสั่งห้ามไว้แล้ว โจป้าก็อ้างว่าไม่
เห็นแก่ข้าก็เห็นแก่บุตรเขยข้า คือ ลิโป้ แต่โจป้าอ้างผิดคน เพราะ เตียวหุยเกลียดลิโป้จับใจ จึงสั่งเฆี่ยนเป็นอันมาก
ให้โจป้าโซเซไปฟ้อง ลิโป้ และ ยึดเมืองซีจิ๋ว จากเตียวหุยได้ในเวลาอันสั้น

แต่ไม่ช้าการต่อสู้ยืดเยื้อยาวนาน ลิโป้ก็จบด้วยความพ่ายแพ้ของกลอุบาย ลิโป้ถูกจับได้โดยโจโฉและเล่าปี่ โจโฉเดิม
ทีจะไว้ชีวิตเพราะเห็นในฝีมือ และลิโป้ก็ได้ขอร้อง ให้เล่าปี่ช่วยพูด ทว่าเล่าปี่กลับไม่เล่นด้วย เตือนสติโจโฉว่า
ท่านอยากเป็นอย่างเต็งหงวนและตั๋งโต๊ะรึไง
หมายความว่าคนคนนี้จะกลายเป็นอาวุธของศัตรูได้ง่ายๆ ถ้าผลประโยชน์เหนือกว่า

                 


   
        ในประวัติ “เสียมก๊ก” ได้บันทึกไว้ถึง ขุนพลแก้วของ "พระมหาเล่าเสี้ยน เงี่ยน ง๊กก๊ก"
เป็นจอมยุทธ์ฝี กวนไร้ทวนทาน นิสัยสันดาน เป็นยิ่งกว่าพระเอก

        ลิโป้ปด สมัย “เสียมก๊ก” เป็นแฝดคนละฝา ทว่าสันดานเดียวกับ ลิโป้ แห่ง ยุคสามก๊ก
(อังกฤษ: Three Kingdoms Period; จีนตัวเต็ม: 三國) หากแต่เกิดต่างยุคกว่า สองพันปี

        ลิโป้ปด ไต่เต้ามาจากทหาร หน่วยวิฬาล่าสวาท กองธงเหลืองในพระพันปีหลวง เป็นทหารคนสนิทแนบแน่น
ที่ได้รับความไว้วางใจเข้านอกออกใน ได้ทุกที่ทุกเวลา มีหน้าที่ตรวจตราบนขาหยั่งทั้งภายนอกแลภายใน คูหาสวรรค์
พระพันปี
เรียกได้ว่า พิทักษ์สารพันยันมดลูก... อะจึ้ยยย แข็งเข้มเชียว เจี๋ยวว๊อยย

        ลิโป้ปด ได้รับความโปรดปราน ด้วยเพราะท่วงทีท่าทางที่กร้าวแข็งแข็งเป๊ก สมมาดชายชาติทหาร
นัยน์ตาเสีย จมูกชื้น ปากยาวเห่าดัง
เป็นที่เข้าตาสมใจอยาก พระพันปียิ่งนัก ยิ่งถ้านับเอาความยาวแลสากของด้ามหอกใบลิ้น มาพิจารณาด้วยแล้วนั้น ยาก
ยิ่งสุดจักพรรณนากล่าวได้หมด ดังสมญานามว่า“ปากหมา ชิวหาพาฝัน แม้หอกเล็กสั้นทว่าดันมีปวด”จึ่งได้รับการ
ปูนบำเหน็จอวยยศแบบหักหอกด้ามยาวทั้งกองทัพ ขึ้นสู่จุดสุดยอดในตำแหน่งหน้าที่ ชนิดที่ เสียวแบบไม่ต้องเสี่ยง

        ด้วยการต่างตอบแทนทุกท่วงท่าท่วงที เสมือนเลี้ยงหมาดี ไว้เห่าประจบ นับแต่บัดนั้นภายในกำแพงเมือง ง๊กก๊ก
จึงอึกทึกไปด้วยเสียงเห่าให้ขรม ทุกวันเวลา ของลิโป๊ปด ขุนพลใหญ่แม่ทัพ แคว้นง๊ก ในตำแหน่ง องครักษ์ผู้พิทักษ์
มหานคร
จนถึงมีการป่าวประกาศด้วยเสียงอันดังฟังชัดว่า

“กูจักฆ่าเสียสักหมื่นศพขี้ข้า หากแม้นว่าเหิมเกริม
มิยอมยอบหมอบกราน แลยืนตัวตรงในโรงงิ้วหลวง”

โธ่ อ้ายแม่เยอะ อ้ายลูก ๓ พ่อ
 พ่อตัว, พ่อตา, พ่อตาปลอม (พ่อของเมียเก็บอีกคน) 
อ้ายขุนพลชอบเลีย อ้ายเชี้ยเอ้ย … ปวงประชาต่างแซ่ซร้องสรรเสริญกันอึงมี่


                         

        มนุษย์กำหนด ฤาจักสู้ ฟ้าลิขิต
ชะตามนุษย์ย่อมมีขึ้นและมีลง ฉันใดก็ฉันนั้นแล
อยู่ดีดียามดวงหม่นหมอง เหมือนว่าวตกลงจากฟากฟ้า แม้นว่าจะประคองกำชัก กำชัก ชักผ่อน ผ่อนชัก
สักเพียงใด ว่าวมันก็แตก (น่าจะใช้คำผิด..ผู้แปล) เอ้อ...  ตกแตก
จิ้งจกร้องทัก ยังต้องฟัง
ชัดช้า นี่กระไร ...เหี้ยตัวใหญ่ ดันตกลงมาจากฟ้าที่ตรงหน้า ... ตัวหนึ่งก็แล้ว  สองตัวก็แล้ว 
... ยามดวงตก ความเหี้ยก็มาเยือนโดยมิได้นัดหมาย ติดๆกัน 3 ตัวซ้อน

ไอ๊หย๋า.. เง๊กเซียงฮ่วงตี้ ช่วยล่วย......
ซึ่งก็เป็นไปดัง คำสรรเสริญของปวงประชาราษฎร์ ทุกประการ
“อ้ายขุนพลชอบเลีย อ้ายเหี้ยเอ้ย”

                 

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เสียมก๊ก ตอน "นางเสียวเสี้ยน"..ปลาเก๋าราดเหมาไถ



ตอน
"นางเสียวเสี้ยน"
                                "นางเสียวเสี้ยน" แห่งเสียมก๊ก ตำนาน .. "ปลาเก๋าราดเหมาไถ"
ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè)
ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้"
                               
ถือเป็นหญิงงามอันดับที่สามจากหญิงงามทั้งสี่คนในบันทึกแดนมังกร ที่คนทั่วไปต่างก็รู้จักเธอ
ผ่าน วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก   นั้นเป็นบุคคล ที่ไม่ได้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
เธอเป็นเพียงสตรีที่ถูกสร้างขึ้นจาก ปลายปากกาของ หลอก้วนจง นักเขียนอัจฉริยะ ผู้แต่งนิยายสามก๊ก
"ซานกั๋วเหยี่ยนอี้" เท่านั้น

เธอเป็นหญิงงามที่มีประวัติส่วนตัวน้อยที่สุด หากเทียบกับหญิงงามคนอื่นในประวัติศาสตร์
ในสามก๊ก บรรยายว่า นางเตียวเสี้ยน เป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นปลายแถว เมื่อตอนเด็กมีฐานะยากจนต้อง
ช่วยแม่ทอเสื่อขายเลี้ยงชีพ เป็นนางรำในจวน อ้องอุ้น 王允 ขุนนางผู้ใหญ่ในพระเจ้าเหี้ยนเต้ (ปลายราช
วงศ์ฮั่นตะวันออก)
เนื่องด้วยมีรูปโฉมที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง มีความสามารถในการฟ้อนรำเป็นเลิศและฉลาด
เฉลียว อ้องอุ้นจึงเมตตารักเหมือนลูกและรับเป็น บุตรบุญธรรม

อ๋องอุ้น เห็นว่า ทรราชตั๋งโต๊ะ 董卓 กำเริบเสิบสานคิดล้มราชวงศ์ฮั่นตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเป็นฮ่องเต้
อ้องอุ้นคิดจะกำจัด ตั๋งโต๊ะ ขุนนางกังฉินกินบ้านเมือง จึงได้วางแผนการอันแยบยล กลยุทธ์สาวงาม
ยกเตียวเสี้ยนให้แก๋ ลิโป้ 吕布 ก่อนอย่างลับๆ แล้วจึงค่อยยกนางให้แก่ ตั๋งโต๊ะ
 ...คราครั้งนั้น นางเตียวเสี้ยนผู้กตัญญู ได้ยอมสละตัวเอง เพื่อทำให้ ตั๋งโต๊ะแตกคอบาดหมางกับ ลิโป้

นับแต่นั้นมาเวลาที่ เตียวเสี้ยน อยู่กับ ตั๋งโต๊ะ เพียงลำพังก็จะใช้จริตมารยายั่วยวนจนตั๋งโต๊ะหลงใหล
แต่หากว่ามีลิโป้อยู่ด้วย  นางก็จะแอบส่งสายตาให้  และเมื่อบางครั้งที่ได้อยู่กับลิโป้เพียงลำพัง นางก็จะร้อง
ว่า ตั๋งโต๊ะใช้กำลังเข้าข่มขู่นางไม่อาจปฏิเสธได้...แต่เมื่อเวลาที่ตั๋งโต๊ะสงสัยว่านางกับลิโป้มีชู้กัน นางก็จะ
ว่าลิโป้หาทางจะลวนลามนาง และขู่ว่าจะฆ่าตัวตายหากว่าตั๋งโต๊ะไม่เชื่อ ...เมื่อตั๋งโต๊ะห้ามนางไว้ได้ นางก็
โผเข้าร้องไห้ที่ตัวของตั๋งโต๊ะ

วันหนึ่ง ในขณะที่ตั๋งโต๊ะไปร่วมประชุมเหล่าขุนนาง ลิโป้ก็แอบเข้าไปพบกับนางเตียวเสี้ยนและนัดพบ
กันที่ ศาลาฟ่งอี๋  .... เมื่อเตียวเสี้ยนไปพบลิโป้ ก็ได้แสร้งร้องไห้บอกเล่าความทุกข์ที่ถูกตั๋งโต๊ะขืนใจ
ลิโป้โกรธมาก ... ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ตั๋งโต๊ะกลับมาพบเข้า  และด้วยความโกรธจึงได้แย่งเอาง้าวในมือ
ของลิโป้และตรงเข้าแทง แต่ลิโป้หนีไปได้ นับจากนั้นทั้งสองต่างก็เกิดความระแวงซึ่งกันและกัน
จนท้ายที่สุด อ๋องอุ้น ก็สามารถเกลี้ยกล่อม ลิโป้ ให้กำจัดตั๋งโต๊ะได้ในที่สุด

 

หลังจาก ตั๋งโต๊ะ ตายแล้ว ลิโป้ เก็บนางเป็นเมียน้อย
   ต่อมา โจโฉ ประหาร ลิโป้ แล้วจึงพานางกลับ เมืองฮูโต๋

เรื่อง นางเตียวเสี้ยน เป็นเพียงตัวละครที่ หลอก้วนจง สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มสีสันให้เรื่อง สามก๊ก ที่เต็มไปด้วยเรื่อง
ฆ่าฟัน ให้คนดูงิ้หรือคนอ่านได้เพลิดเพลินกับบทรักของลิโป้และเตียวเสี้ยนบ้าง จึงมีการเดินเรื่องหลายรูปแบบ
บ้างก็ว่า นางฆ่าตัวตาย หลังจากที่กำจัดตั๋งโต๊ะได้สำเร็จ
บ้างก็ว่า นางไปอยู่กับโจโฉ แล้วถูกกวนอูฆ่า
หรือกวนอูไม่ฆ่า แล้วไล่ไป
ซึ่งก็เป็นเรื่องตามนิยายหรือบทงิ้ว

นางเตียวเสี้ยน เป็น 1 ใน 4 ของหญิงงาม แดนมังกรจีนโบราณ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป


กลยุทธ์สาวงาม กลอุบายโดยใช้ให้หญิงงามยั่วยุให้สองฝ่ายเข่นฆ่ากันเองหรือไม่ก็ใช้หญิงงามทำให้เป้าหมายหลง
คลั่งไคล้จนเสียผู้เสียคน ซึ่งก่อนหน้านี้ในประวัติศาสตร์ ก็เคยมีผู้ใช้แผนนี้สำเร็จนี้มามากแล้ว แต่ถึงกระนั้นแผนนี้ก็ยังคง
ใช้ได้ดีแม้จะในยุคนี้ก็ตาม นั่นเพราะสันดานของผู้ชาย และผู้มีอำนาจนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหน ก็ไม่เปลี่ยนไปเลย นั่น
คือ ความบ้าผู้หญิงจนหน้ามืดตามัวจนเสียการงาน
         (กรุณาหยุดอ่านพักสายตาครึ่งเรื่อง เพื่อทำกิจกรรมส่วนตัว สุบบุหรี่ หรือสูบบุรุษ ตามอัธยาศัย 5 นาที
         และอย่าลืมยืนตัวตรงแสดงความเคารพ หลังอ่านนวนิยายเรื่องเกือบจริงอิงประวัติศาสตร์ ฉบับนี้จบ)



                           

ส่วนนาง เสียวเสี้ยน เป็นคนละภาคของ นางเตียวเสี้ยน ดังเช่น
พระนางอุมาเทวี(เทวนาครี:सती)หรือ พระศรีมหาอุมาหรือ ปารวตี กับ ปางพระแม่กาลี(พะนางกรีกกาลราตรี)

        ดรุณีนางทั้งสอง คล้ายคลึงกัน ตรงที่มีรูปโฉมในวัยแรกรุ่น สวยสะพรั่งงดงาม ทว่าในวัยกลางและปลายฝนนั้น
ป๊าด!...คุณพระช่วย! กล้วยข้าวเม่าทอด... แม่นางอาจจะ อ้วนเป็นตุ่มต่อขา หน้าตึงตูดหย่อน ทาปากอิ่มบวม
แดงแช๊ด แววตาดุดันแฝงความจงเกลียดจงชัง อำมหิต


        ทั้งสองนาง มีที่มาทางกลอุบายจากผู้เป็นบิดา กลยุทธ์สาวงาม ขึ้นคล่อมแล้วล้อมฆ่าสู่ความยิ่งใหญ่ คล้ายๆ
กันคือ เริ่มต้นโดยใช้ความงามแลมารยาหญิง ยั่วยวน ราคะผัวขา คล้องบ่วงสวาท จอมทรราช และ ทหารองครักษ์
คนสนิททั้งหลายใกล้ตัว เธอฟาดเป็น ผอสระอัว หมดด้วยความจัดเจนใน กลยุทธปิดไฟใส่กลอน

        เสียวเสี้ยน เป็นตัวละครที่ หลอก้วนจง มิได้เขียนไว้ใน สามก๊ก เพียงแต่เคยเปรยๆไว้ในวงเหล้าเหล่ากวีและ
บัณฑิตตอนเมาปริบได้ดีกรี  ...หลังหลอก้วนจงหายเมาและตายไปหลายร้อยปี จึงมีการสังคายนา สามก๊ก อีกครั้งในชื่อ 
เสียมก๊ก ฉบับ ราชบันเดาะห์ติงสูลายะสถาน โดยเพิ่มตัวละครบุคลิก เสียวเสี้ยน เข้าไปในบท 红 派(หงไพ่) หรือ
ก๊กแดง  ..ให้เพิ่มความน่าอ่านยิ่งขึ้นด้วยเครื่องปรุงรสซาบซ่า เพื่อความบันเทิงเริงอีโรติค

        จริตจก้านความมารยาเหมาไถ ของเสียวเสี้ยน นี้เป็นที่เลื่องลือกันในหมู่ชนที่ได้ พบพานอ่านฟัง คลิปเสียงและภาพ
โดยจำเพาะคลิปฉาว “ปลาเก๋าราดเหมาไถ” ซึ่งในอนาคตอันไม่ไกลนัก คณะบันเดาะห์ผู้ชักใย อาจจัดทำ เป็น
E-book ออกเผยแพร่ ในโลกไซเบอร์โซเชี่ยลเน็ตเวอร์ค สามารถค้นหาได้ใน  Google App Engine

             โดยใช้ชื่อว่า E-ba (อีบ้า ..คำอ่านไทย)
             หรือพิมพ์ภาษาไทย ซึ่งอาจจะยาวสักนิดว่า “คุณพ่อขาหนูเสียว(เสี้ยน)เพื่อชาติ(ตระกูล)”

เตียวเสี้ยน หรือ เตียวฉาน ในภาษาจีน 貂婵 มีความหมายแปลว่า จักจั่น  ส่วน
เสียวเสี้ยน มีคำแปลในภาษาจีน 首页毛刺。
แต่หากเป็นคำไทย น่าจะมีความหมาย ขยายกริยา เช่น นางเสียวเสี้ยน อีนางร้อยผัว เดี๋ยวเสี้ยนๆ

จึงเป็นที่มาของชื่อ นางเสียวเสี้ยน แล ชื่อตอนหนึ่ง ในอัตตชีวนิยาย เสียมก๊ก (Cow Kingdom)












      
       1. ไซซี
       ไซซี ตามสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ ซี ซือ ตามสำเนียงกลาง (จีน: 西施;p=Xī Shī; อังกฤษ: Xi Shi)
       เกิดประมาณ ค.ศ. 506 ก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในรัฐเยว่ (State of Yue)
            ได้รับฉายานามว่า "มัจฉาจมวารี" (จีน: 沉魚 พินอิน: chén yú)
             ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ"
                     (so beautiful as to make swimming fish sink)

ในยุคเลียดก๊ก ที่แต่ละรัฐรบกันนั้น รัฐอู๋เป็นรัฐที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะรัฐเยว่ และจับตัว
เยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฟ่านหลี ไปเป็นตัวประกันที่รัฐอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้น
เพื่อกู้ชาติ แต่จำต้องยอมจงรักภักดี เพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ

ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้
ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไปหากได้ดื่มสุรา
และทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง  และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋อง เห็นว่า เยว่อ๋อง
โกวเจี้ยน
มีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่รัฐ เยว่ เมื่อกลับสู่รัฐเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติ
ทันที โดยมีฟ่านหลี่เป็นอำมาตย์คอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลี่ได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ
                   ฝึกฝนกองกำลังทหาร
                       พัฒนาด้านกสิกรรม และ
                           ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้

        ไซซี เป็นหญิงสาวชาวบ้าน ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน(ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางและนางเจิ้งตัน
ถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร ..เล่ากันว่าเมื่อไซซีนั่งซักผ้าริมธารนั้น ปลาที่ว่ายน้ำมาเห็นเธอก็ตะลึง ลืม
ว่ายน้ำจมหายไป
เลยจึงเปรียบเธอว่างามจนมัจฉาจมวารี นางมีหน้าตางดงามมากพร้อมกับนางเจิ้งตัน(แต้ตัน)
ซึ่งก็มีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี่(เถาจูกง) เสนาบดีรัฐเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง
เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับรัฐอู่ เพื่อมอมเมาให้อู่อ๋องฟูซา เจ้านครรัฐอู่ ลุ่มหลงอยู่กับ
เสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูซาหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งตัน ทำให้นางเจิ้งตันน้อยใจ
จนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ผ่านไป 13 ปี เมื่อรัฐอู่อ่อนแอลง รัฐเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จ
ในที่สุด

ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูซา ฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับอำมาตย์ฟ่านหลี่ที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้น
แล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ที่
ทะเลสาบไซ้โอ้ว (ทะเลสาบซีหู) ศิลปินจีนจึงมักวาดรูปไซซี ให้เป็นรูปหญิงงามกำลังซักผ้าริมลำธาร


      
       2. หวังเจาจวิน
       หวังเจาจวิน (อังกฤษ: Wang Zhaojun จีน: 王昭君)
       ชื่อจริงคือ หวังเฉียง (อังกฤษ: Wang Qiang จีน: 王牆, 王檣, 王嬙)
            ฉายานามว่า "ปักษีตกนภา" (จีน: 落燕 พินอิน: luò yàn)
            ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า"
                      (so beautiful as to make flying geese fall)
  
เกิดเมื่อประมาณ 33 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก พ.ศ.๓๔๑-๕๕๑ (ในรัชสมัยฮั่นหยวนตี้ ทาง
เหนือและใต้ทำสงครามกันไม่หยุดหย่อนชายแดนไม่มีความสงบสุข เพื่อที่จะทำให้เผ่าซงหนูทางชายแดนด้านเหนือ
สงบลง ฮั่นหยวนตี้จึงได้พระราชทานนางสนมให้สมรสกับ ข่านฮูหานเสีย เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
2 เมือง) นางสนมคนหนึ่งนามว่า หวังเฉียง ฉายาเจาจวิน มีรูปโฉมที่งดงามและกอปรด้วยความรู้ ยินดีเสียสละเพื่อ
ชาติ ที่จะไปแต่งงานยังเผ่าซงหนู

หวังเจาจวิน เดินทางออกไปนอกด่าน ในวันที่ท้องฟ้าสดใส ระหว่างทาง เสียงม้าและเสียงนกร้องทำให้นางเศร้าโศก
ยากที่จะทำใจได้ นางจึงได้ดีดพิณขึ้นเป็นทำนองที่แสดงความโศกเศร้าจากการพลัดพราก บรรดานกที่กำลังจะบินไป
ทางใต้ ได้ยินเสียงพิณอันไพเราะเช่นนี้ จึงมองลงไป เห็นหญิงงามอยู่บนหลังม้า ก็ตะลึงในความงาม ลืมที่จะขยับปีก
จึงร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน นับแต่นั้นเป็นต้นมา หวังเจาจวินจึงได้รับขนานนาม ว่า
                “ความงามที่ทำให้ฝูงนก ต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า” ..ปักษีตกนภา นั่นเอง


      
       3. เตียวเสี้ยน
       เตียวเสียน (อังกฤษ: Diao chan; จีนตัวเต็ม: 貂蟬; จีนตัวย่อ: 貂蝉)
       เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรบุญธรรมของอ้องอุ้น
           ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè)
           ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้"

       ในเรื่อง สามก๊ก ในกลอุบายสาวงาม ศิลปินมักวาดเป็นรูปกำลังจุดธูปเทียนบูชาพระจันทร์ เชื่อว่าเกิดใน ค.ศ.169
ซึ่งเป็นยุคสามก๊ก และปรากฏตัวในนิยายเรื่องสามก๊กด้วย เมื่ออองอุ้นมหาอำมาตย์ตงฉิน ผู้ซื่อต่อแผ่นดิน ซึ่งเป็นพ่อ
บุญธรรมของเตียวเสี้ยน วางแผนจะกำจัดกังฉินเสี้ยนหนามแผ่นดินคือ ตั๋งโต๊ะผู้กำเริบตั้งตนเองเป็นมหาอุปราช โดยจะ
ใช้เสน่ห์เตียวเสี้ยนยั่วให้ตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้ องครักษ์คู่ใจตั๋งโต๊ะ

อองอุ้น
แกล้งเชิญตั๋งโต๊ะ กับลิโป้ มากินเลี้ยงแล้วก็บอกว่าตนมีลูกสาวบุญธรรมคน หนึ่งที่หน้าตาสวยงามมาก ลือกันว่า
สวยกว่าจันทรเทวีฉางเอ๋อ จนจันทร์เจ้าอาย ทั้ง 2 กังฉินนั่นมิรู้กล ก็ตื่นเต้นอยากเห็น อองอุ้นก็แกล้งถ่วงเวลาไว้ ที่จริง
อองอุ้นรู้ว่าคืนนั้นจะมีจันทรุปราคา

พอใกล้เวลาจันทรคราสก็ให้เชิญเตียวเสี้ยนออกมา ทันใดนั้น พระจันทร์ก็สิ้นแสงหมดรัศมี ตั๋งโต๊ะและลิโป้ จึงตื่นเต้น
มากว่าเตียวเสี้ยนเป็นหญิงงามเย้ยจันทร์จริงๆ งามจน จันทร์หลบโฉมสุดา เตียวเสียนก็จุดธูปกระทำคารวะต่อเทพธิดา
แห่งดวงจันทร์เชิญให้ออกมา จันทร์ก็สว่างดังเดิม ต่อจากนั้นทั้งสองคนก็หลงใหลเสน่ห์เตียวเสี้ยนจนโงหัวไม่ขึ้นจนถึงกับ
ฆ่าฟัน กันเองตามกลของอองอุ้นที่วางไว้


      
       4.  หยางกุ้ยเฟย 
       หยางกุ้ยเฟย (อังกฤษ: Yang Guifei ; จีน: 楊貴妃)
       พระนามเดิมคือ หยางอี้หวน (อังกฤษ: Yang Yuhuan ; จีน: 楊玉環)
       เกิด 1 มิถุนายน ค.ศ. 719 สิ้นพระชนม์ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 756

กล่าวกันว่า หยางกุ้ยเฟย ทรงเป็นสตรีที่มีความงามเป็นเลิศ ใช้ชนม์ชีพในรัชสมัยราชวงศ์ถัง ศิลปินมักวาดเป็นสองรูป
คือ ตอนกำลังเมาเหล้าเริงระบำ หรือ ตอนกำลังอาบน้ำร้อน เธอได้ชื่อว่ามีรูปโฉมงามมากจนกระทั่ง เมื่อตามเสด็จ
พระเจ้าถังเสวียนจงฮ่องเต้ ประพาสสวนหลวง ดอกไม้ต่างๆก็หุบกลีบไม่กล้าแย้มบานประชันความงามกับนางเลย จึงได้
           สมญาว่า งามจน  มวลผกาละอายนาง (จีน: 羞花; พินอิน: xiū huā)
           ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย"
               (a face that would make all flowers feel shameful)

หยางกุ้ยเฟย เป็นพระสนมเอกใน จักรพรรดิถังเสวียนจง ของราชวงศ์ถัง อิทธิพลของหยางกุ้ยเฟย ทำให้ญาติของ
พระนาง ขึ้นมามีบทบาทในราชสำนัก ในภายหลังเกิดการกบฎ ฮ่องเต้ถังเสวียนจงได้มีพระบรมราชโองการให้พระนาง
สำเร็จโทษโดยแขวนพระศอ สิ้นพระชนม์ชีพ โดยใช้ผ้าแพรของฮ่องเต้ถังเสวียนจง ระหว่างการหลบหนี โดยที่ ...
หยางกุ้ยเฟย มีอายุเพียง 37 ปี

หลังจากที่หยางกุ้ยเฟยฆ่าตัวตายไปแล้ว ไม่มีภาพวาดของนางปรากฏให้เห็นอีกเลย อีกทั้งตระกูลหยาง ยังถูกตัดสิน
ฆ่าล้างทั้งตระกูล จนบัดเดี๋ยวนี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่ายังมีหลักฐานเกี่ยวกับ หยางกุ้ยเฟยหลงเหลืออีกหรือไม่


วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เสียมก๊ก ตอน "ขงบ้าตาย".. ศพนั่งเก้าอี้

 

                                                                   ตอน
                                                   "ขงบ้า" ตาย
       ศพนั่งเก้าอี้ ... ขงบ้า ตายแล้ว

จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng)
หรือ ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มี
ตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็น นัก
การเมืองสมัยปลาย ราชวงศ์ฮั่น ของจีนประวัติศาสตร์ หรือในสมัยหลัง ราชวงศ์ฮั่น หากกล่าวอ้างอิงตาม
จูกัดเหลียง ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ ในตำแหน่ง สมุหนายก และ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งรัฐจ๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต วิชาการ วิศวกร และได้ชื่อว่า
เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่ยิ่งใหญ่ โดยคิดค้น หมั่นโถว ธนูไฟ โคมลอย และระบบชลประทาน ศิลปิน  มักวาดภาพ ให้
จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวกนักพรต และถือพัดขนนกกระเรียนอยู่ในมือเสมอ

   กล่าวถึง
   เมื่อขงเบ้งมหาอุปราชเมืองเสฉวนใกล้ตาย

      ได้ตั้งมั่นอยู่ในค่ายเขากิสาน ติดศึกรบกับวุ้ยก๊กยืดยาวอยู่ สุมาอี้แม่ทัพคนสำคัญของวุ่ย ก็ตั้งมั่นอยู่มิได้ออกรบ
ขงเบ้ง ก็ให้ทหารส่งผ้าซับในผู้หญิง ไปยังค่ายสุมาอี้ ทำทีเป็นเยาะเย้ย มิใช่ชายชาติทหาร ...สุมาอี้เห็นดังนั้น
ก็โกรธแต่อยู่ในใจ แล้วก็ถามถึงตัวขงเบ้ง ทหารจ๊กก๊ก ผู้นั้นก็ว่า ขงเบ้งปรกติสุขดี ตรวจกำชับดูแลทหาร(ศาล อัยการ)
อยู่เสมอ การใหญ่น้อยมิได้ผ่อนผันให้ผู้ใดทำ สุมาอี้ได้ยินดังนั้นก็ไตร่ตรองคิดอยู่ แล้วก็ให้บำเหน็จรางวัลแก่ ทหารผู้
นั้น ตามสมควร

      ต่อมา สุมาอี้ มิได้เห็นทหารขงเบ้งออกมารบพุ่งเป็นหลายวัน ก็มีความสงสัยอยู่ ครั้นเวลากลางคืนวันนั้น สุมาอี้
ออกมาดูอากาศเห็นวิปริตก็ดีใจ จึงบอกแก่ แฮหัวป๋า(คนละคนกับ แฮอีป๋า) ว่า เห็นดาวมหาอุปราชเมืองเสฉวนนั้น
เศร้าหมองนัก จึงรู้ว่าอายุขงเบ้งจะหมดแล้ว

  “ท่านจงคุมทหารพันหนึ่งไป ณ ค่ายขงเบ้ง แม้เห็นทหารในค่ายนั้นสงบอยู่ ขงเบ้งจะป่วยลงเป็นมั่นคง
    ท่านจงร้องท้าทายให้ทหารขงเบ้งยกออกมารบ แม้เรารู้ประจักษ์ว่าขงเบ้งเป็นประการใด จะได้คิดการ
                ต่อไป แฮหัวป๋าก็คุมทหารไปร้องด่าท้าทายให้ขงเบ้งออกมารบ ตามคำสั่งสุมาอี้”

                                     
      เมื่อใกล้สิ้นวาระอายุขัย ขงเบ้งเรียก เตียวหงี มาสั่งความว่า เมื่อเราตายแล้ว อย่าให้ทหารทุกข์ร้อนนุ่งขาวห่มขาว
จงทำกิริยาแสร้งปรกติเหมือนเรายังอยู่ อย่าให้กิตติศัพท์ที่ตายนั้น รู้ไปถึงข้าศึก ท่านจงสร้างที่นั่งผุกศพเราให้นั่งไว้ เอา
ข้าวสารใส่ปากไว้เจ็ดเมล็ด เอาโคมจุดเพลิงรองไว้ใต้ที่นั่งเรา เพื่อรักษาดาวสำหรับอายุเรามิให้หายดับไป แม้เพลิงโคม
นั้นดับลงเมื่อใด ดาวสำหรับอายุเราก็จะสูญไปเมื่อนั้น ถ้าสุมาอี้ไม่เห็นดาวนั้นแล้ว ก็จะรู้ว่าเราถึงแก่ความตาย จะยกกอง
ทัพมาทำอันตรายแก่ทหารทั้งปวง แม้สุมาอี้เห็นดาวนั้นยังอยู่ ก็จะไม่อาจยกมาทำย่ำยี ท่านจงเลิกกองทัพกลับไป ถ้า ...
สุมาอี้จะคุมทหารไปติดตาม ท่านจงจัดทหารตั้งตารับเป็นหน้ากระดานไว้ แล้วเอาร่างเราใส่เกวียนชักออกมากลางทหาร
สุมาอี้เห็นก็จะตกใจถอยไป เตียวหงีก็รับคำไว้ทุกประการ

      ก่อนตายขงเบ้งมอบ ตำราพิชัยสงครามที่ตนได้ศึกษาค้นคว้าเขียนขึ้น ทั้งหมด ๒๔ เล่ม กับ เกียงอุย ที่เปรียบ
เหมือน หงส์อ่อนตัวใหม่ ไว้ศึกษา เพื่อทำการใหญ่แทนตน หลังจากขงเบ้งตายแล้ว เกียงอุย ได้เป็นผู้สืบทอดด้าน
การทหารแต่ผู้เดียวของจ๊กก๊ก และทำการศึกกับวุ่ยก๊กเรื่อยมา ตราบจน จ๊กก๊ก ล่มสลายลง

                                       
  ขงเบ้ง สิ้นใจใน เดือน๑๐ แรม๘ค่ำ รวมอายุได้ ๕๐ ปี
  " เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา
ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้
จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี "
พระพุทธพจน์




                                       

       ย้อนกลับมาที่  หงก๊ก, Hóng pài(หงไพ่), 红 派, ก๊กแดง

   ณ.ท้องพระโรง เมืองหลวงหงก๊ก 
   ... หงอ๋อง ออกว่าราชการแก่ ขุนพล มหาเสนา อำมาตย์ ใหญ่น้อยทั้งสิ้น ว่า

    “ข้าชักสงสัยว่า ที่..นั่งม้าหลังแข็ง ออกมาว่าราชการล่อหลอกสร้างขวัญกำลังใจให้ลิ่วล้อระยะหลังๆนี้ น่าจะเป็น
เพียง ศพนั่งเก้าอี้ ได้เท่านั้น ใกล้วาระเจ้าเต็มทีแล้ว ขงบ้า (อำนาจ ยศถา เงินตรา) เอ้ย ...จะสั่งการก่อนตาย แก่
ทหาร ศาล อัยการ ใครอย่างไร ก็ว่ากันมาชัดชัด ...  แล้วจะตั้ง เกียงอุย คนไหนมาทำการใหญ่สืบต่อแทนก็ เอ่ยอ้า
วาจามา อย่านอนขวางเป็น พญาอ้ายเข้แม่น้ำ ปากอมเพชร อยู่ หรือยังคิด จะอยู่ ใหญ่ค้ำฟ้า เป็น

                                   "พระมหาเล่าเสี้ยน เงี่ยน ง๊กก๊ก"

       แต่จักอย่างไรก็ช่างเถิด ไม่ช้ามาก ก็เร็ว  ก๊กง๊ก ก็ต้องล่มสลายไปวันยังค่ำ ... พวกข้ารอได้ .. เคี๊ยก เคี๊ยก
(หัวเราะแบบจอมยุทธ จอมโกง .. บทบรรยาย)  ระหว่างที่พักรอ ขงบ้า มันตาย ..ว่างอยู่นี้ ถ่ายทอดคำสั่งข้าออกไป
ให้คัด ทหารกล้าโพกผ้าแดง ๑๐,๐๐๐ นาย ไปร้องด่าท้ารบมันที่หน้าค่ายเลียบแม่น้ำ ให้ทุกวันไปจงหนัก ดั่งนี้
                                    อ้าย..วรนุชสั่งฆ่า อี..อหิวาห์สั่งยิง

        แม้นว่ามันส่งทหารเลวออกมาจักรบพุ่งด้วย  ก็ให้ล่าถอยข้ามลำน้ำมาเสียทุกคราวไป จงลวงหลอกเอาล่อเอาเถิด
ไปจนดาวประจำตัวมันดับแล้วค่อยรวมกำลังพลทั้งสิ้นเข้าบดขยี้กวาดล้าง โคตรเง่าศักราชง๊ก หมดสิ้นไปจากผืนแผ่นดิน
ให้จงได้
คำสั่งการข้า ถือเป็นเด็ดขาด การอันใดผู้ใดกระทำ นอกเหนือเสียหาย
ให้ ... สี่ม้าแยกร่างมัน แล้ว ตัดหัวเสียบประจาน
 มิให้ทหารเอาเยี่ยงอย่างแตกวินัยทัพ”
                                

                            ผู้น้อย รับทราบคำสั่ง ขอรับ     ผ่าง ... ผ่าง ... ผ่าง .......   จัดหนักไป

                           


       

4 ม้าแยกร่าง  Dismemberment

               
Dismemberment แปลว่า แล่, ถูกตัด หรือ “แยกร่าง” นั้นเอง เป็นวิธีที่พบเห็นในทั่วโลกสมัยโบราณ
ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, เอกวาเดอร์, อียิปต์, จีน, ญี่ปุ่น, มองโกเลีย, โปแลนด์, ไต้หวัน,
ตองกา, ตุรกี, ปากีสถาน     ...เรียกได้ว่าทุกทวีป ทุกมุมโลก สาเหตุของโทษประหารนี้ ส่วนใหญ่ จะเกี่ยวกับ
ข้อหา ทรยศชาติ ไม่ก็ สังหารบุคคลสำคัญ ของประเทศ

     ซึ่งวิธีประหารนี้ไม่โหดให้มันรู้ไป คือ นำนักโทษประหารที่ยังมีชีวิตนำมามัดพันธการเพื่อไม่ให้ดิ้นไปไหน
จากนั้นก็ใช้มีดใหญ่ๆ หรือของมีคมตัด, ฉีก หรือลาก เพื่อให้แขนขาของนักโทษประหารแยกออกจากกัน ใน
ขณะมีชีวิตอยู่ และนักโทษจะตายอย่างทรมานแสนสาหัสจากการเสียเลือดมาก

       บุคคลในประวัติศาสตร์ ที่โดนประหาร โดยวิธีนี้ 
-ทูปัก อามารูที่สอง (Túpac Amaru II) นักต่อสู้เพื่อคนพื้นเมืองในเปรู ที่ต่อสู้กับสเปนในปี 1780
              แต่โดนจับได้และโดนผ่าม้าแยกร่าง
               


-ฟรองซัวส์ ราไวแย็ค (François Ravaillac) นักฆ่าที่ปลงประชนม์พระเจ้าอองลีที่ 4 ของฝรั่งเศส
              ในปี ค.ศ.1610
-โรเบิร์ต ฟรองซัวส์ (Robert-Francois Damiens) พยายามลอบปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 
              ในปี ค.ศ.1757 ที่ฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารอย่างสุดทรมาน ด้วยการเผามือที่ถืออาวุธจะฆ่า
              พระเจ้าหลุยส์ และเอามีดกรีดทั่วทั้งร่าง เอาตะกั่วหลอมเหลวเดือดๆราดลงไปบนแผล จากนั้นก็ใช้ม้า
              4 ตัว วิ่งไปคนละทาง ฉีกร่างออกเป็นส่วนๆ และเอาเศษอวัยวะที่เหลือมาเผา
               


ผู้หญิงก็ไม่เว้นเมื่อ
-ควีน Brunhilda of Austrasia โดนโทษประหารด้วยการใช้ ม้าแยกร่าง เช่นเดียวกัน