วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เสียมก๊ก ตอน "ขงบ้าตาย".. ศพนั่งเก้าอี้

 

                                                                   ตอน
                                                   "ขงบ้า" ตาย
       ศพนั่งเก้าอี้ ... ขงบ้า ตายแล้ว

จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng)
หรือ ขงเบ้ง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มี
ตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็น นัก
การเมืองสมัยปลาย ราชวงศ์ฮั่น ของจีนประวัติศาสตร์ หรือในสมัยหลัง ราชวงศ์ฮั่น หากกล่าวอ้างอิงตาม
จูกัดเหลียง ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ ในตำแหน่ง สมุหนายก และ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งรัฐจ๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต วิชาการ วิศวกร และได้ชื่อว่า
เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่ยิ่งใหญ่ โดยคิดค้น หมั่นโถว ธนูไฟ โคมลอย และระบบชลประทาน ศิลปิน  มักวาดภาพ ให้
จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวกนักพรต และถือพัดขนนกกระเรียนอยู่ในมือเสมอ

   กล่าวถึง
   เมื่อขงเบ้งมหาอุปราชเมืองเสฉวนใกล้ตาย

      ได้ตั้งมั่นอยู่ในค่ายเขากิสาน ติดศึกรบกับวุ้ยก๊กยืดยาวอยู่ สุมาอี้แม่ทัพคนสำคัญของวุ่ย ก็ตั้งมั่นอยู่มิได้ออกรบ
ขงเบ้ง ก็ให้ทหารส่งผ้าซับในผู้หญิง ไปยังค่ายสุมาอี้ ทำทีเป็นเยาะเย้ย มิใช่ชายชาติทหาร ...สุมาอี้เห็นดังนั้น
ก็โกรธแต่อยู่ในใจ แล้วก็ถามถึงตัวขงเบ้ง ทหารจ๊กก๊ก ผู้นั้นก็ว่า ขงเบ้งปรกติสุขดี ตรวจกำชับดูแลทหาร(ศาล อัยการ)
อยู่เสมอ การใหญ่น้อยมิได้ผ่อนผันให้ผู้ใดทำ สุมาอี้ได้ยินดังนั้นก็ไตร่ตรองคิดอยู่ แล้วก็ให้บำเหน็จรางวัลแก่ ทหารผู้
นั้น ตามสมควร

      ต่อมา สุมาอี้ มิได้เห็นทหารขงเบ้งออกมารบพุ่งเป็นหลายวัน ก็มีความสงสัยอยู่ ครั้นเวลากลางคืนวันนั้น สุมาอี้
ออกมาดูอากาศเห็นวิปริตก็ดีใจ จึงบอกแก่ แฮหัวป๋า(คนละคนกับ แฮอีป๋า) ว่า เห็นดาวมหาอุปราชเมืองเสฉวนนั้น
เศร้าหมองนัก จึงรู้ว่าอายุขงเบ้งจะหมดแล้ว

  “ท่านจงคุมทหารพันหนึ่งไป ณ ค่ายขงเบ้ง แม้เห็นทหารในค่ายนั้นสงบอยู่ ขงเบ้งจะป่วยลงเป็นมั่นคง
    ท่านจงร้องท้าทายให้ทหารขงเบ้งยกออกมารบ แม้เรารู้ประจักษ์ว่าขงเบ้งเป็นประการใด จะได้คิดการ
                ต่อไป แฮหัวป๋าก็คุมทหารไปร้องด่าท้าทายให้ขงเบ้งออกมารบ ตามคำสั่งสุมาอี้”

                                     
      เมื่อใกล้สิ้นวาระอายุขัย ขงเบ้งเรียก เตียวหงี มาสั่งความว่า เมื่อเราตายแล้ว อย่าให้ทหารทุกข์ร้อนนุ่งขาวห่มขาว
จงทำกิริยาแสร้งปรกติเหมือนเรายังอยู่ อย่าให้กิตติศัพท์ที่ตายนั้น รู้ไปถึงข้าศึก ท่านจงสร้างที่นั่งผุกศพเราให้นั่งไว้ เอา
ข้าวสารใส่ปากไว้เจ็ดเมล็ด เอาโคมจุดเพลิงรองไว้ใต้ที่นั่งเรา เพื่อรักษาดาวสำหรับอายุเรามิให้หายดับไป แม้เพลิงโคม
นั้นดับลงเมื่อใด ดาวสำหรับอายุเราก็จะสูญไปเมื่อนั้น ถ้าสุมาอี้ไม่เห็นดาวนั้นแล้ว ก็จะรู้ว่าเราถึงแก่ความตาย จะยกกอง
ทัพมาทำอันตรายแก่ทหารทั้งปวง แม้สุมาอี้เห็นดาวนั้นยังอยู่ ก็จะไม่อาจยกมาทำย่ำยี ท่านจงเลิกกองทัพกลับไป ถ้า ...
สุมาอี้จะคุมทหารไปติดตาม ท่านจงจัดทหารตั้งตารับเป็นหน้ากระดานไว้ แล้วเอาร่างเราใส่เกวียนชักออกมากลางทหาร
สุมาอี้เห็นก็จะตกใจถอยไป เตียวหงีก็รับคำไว้ทุกประการ

      ก่อนตายขงเบ้งมอบ ตำราพิชัยสงครามที่ตนได้ศึกษาค้นคว้าเขียนขึ้น ทั้งหมด ๒๔ เล่ม กับ เกียงอุย ที่เปรียบ
เหมือน หงส์อ่อนตัวใหม่ ไว้ศึกษา เพื่อทำการใหญ่แทนตน หลังจากขงเบ้งตายแล้ว เกียงอุย ได้เป็นผู้สืบทอดด้าน
การทหารแต่ผู้เดียวของจ๊กก๊ก และทำการศึกกับวุ่ยก๊กเรื่อยมา ตราบจน จ๊กก๊ก ล่มสลายลง

                                       
  ขงเบ้ง สิ้นใจใน เดือน๑๐ แรม๘ค่ำ รวมอายุได้ ๕๐ ปี
  " เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา
ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้
จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี "
พระพุทธพจน์




                                       

       ย้อนกลับมาที่  หงก๊ก, Hóng pài(หงไพ่), 红 派, ก๊กแดง

   ณ.ท้องพระโรง เมืองหลวงหงก๊ก 
   ... หงอ๋อง ออกว่าราชการแก่ ขุนพล มหาเสนา อำมาตย์ ใหญ่น้อยทั้งสิ้น ว่า

    “ข้าชักสงสัยว่า ที่..นั่งม้าหลังแข็ง ออกมาว่าราชการล่อหลอกสร้างขวัญกำลังใจให้ลิ่วล้อระยะหลังๆนี้ น่าจะเป็น
เพียง ศพนั่งเก้าอี้ ได้เท่านั้น ใกล้วาระเจ้าเต็มทีแล้ว ขงบ้า (อำนาจ ยศถา เงินตรา) เอ้ย ...จะสั่งการก่อนตาย แก่
ทหาร ศาล อัยการ ใครอย่างไร ก็ว่ากันมาชัดชัด ...  แล้วจะตั้ง เกียงอุย คนไหนมาทำการใหญ่สืบต่อแทนก็ เอ่ยอ้า
วาจามา อย่านอนขวางเป็น พญาอ้ายเข้แม่น้ำ ปากอมเพชร อยู่ หรือยังคิด จะอยู่ ใหญ่ค้ำฟ้า เป็น

                                   "พระมหาเล่าเสี้ยน เงี่ยน ง๊กก๊ก"

       แต่จักอย่างไรก็ช่างเถิด ไม่ช้ามาก ก็เร็ว  ก๊กง๊ก ก็ต้องล่มสลายไปวันยังค่ำ ... พวกข้ารอได้ .. เคี๊ยก เคี๊ยก
(หัวเราะแบบจอมยุทธ จอมโกง .. บทบรรยาย)  ระหว่างที่พักรอ ขงบ้า มันตาย ..ว่างอยู่นี้ ถ่ายทอดคำสั่งข้าออกไป
ให้คัด ทหารกล้าโพกผ้าแดง ๑๐,๐๐๐ นาย ไปร้องด่าท้ารบมันที่หน้าค่ายเลียบแม่น้ำ ให้ทุกวันไปจงหนัก ดั่งนี้
                                    อ้าย..วรนุชสั่งฆ่า อี..อหิวาห์สั่งยิง

        แม้นว่ามันส่งทหารเลวออกมาจักรบพุ่งด้วย  ก็ให้ล่าถอยข้ามลำน้ำมาเสียทุกคราวไป จงลวงหลอกเอาล่อเอาเถิด
ไปจนดาวประจำตัวมันดับแล้วค่อยรวมกำลังพลทั้งสิ้นเข้าบดขยี้กวาดล้าง โคตรเง่าศักราชง๊ก หมดสิ้นไปจากผืนแผ่นดิน
ให้จงได้
คำสั่งการข้า ถือเป็นเด็ดขาด การอันใดผู้ใดกระทำ นอกเหนือเสียหาย
ให้ ... สี่ม้าแยกร่างมัน แล้ว ตัดหัวเสียบประจาน
 มิให้ทหารเอาเยี่ยงอย่างแตกวินัยทัพ”
                                

                            ผู้น้อย รับทราบคำสั่ง ขอรับ     ผ่าง ... ผ่าง ... ผ่าง .......   จัดหนักไป

                           


       

4 ม้าแยกร่าง  Dismemberment

               
Dismemberment แปลว่า แล่, ถูกตัด หรือ “แยกร่าง” นั้นเอง เป็นวิธีที่พบเห็นในทั่วโลกสมัยโบราณ
ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, เอกวาเดอร์, อียิปต์, จีน, ญี่ปุ่น, มองโกเลีย, โปแลนด์, ไต้หวัน,
ตองกา, ตุรกี, ปากีสถาน     ...เรียกได้ว่าทุกทวีป ทุกมุมโลก สาเหตุของโทษประหารนี้ ส่วนใหญ่ จะเกี่ยวกับ
ข้อหา ทรยศชาติ ไม่ก็ สังหารบุคคลสำคัญ ของประเทศ

     ซึ่งวิธีประหารนี้ไม่โหดให้มันรู้ไป คือ นำนักโทษประหารที่ยังมีชีวิตนำมามัดพันธการเพื่อไม่ให้ดิ้นไปไหน
จากนั้นก็ใช้มีดใหญ่ๆ หรือของมีคมตัด, ฉีก หรือลาก เพื่อให้แขนขาของนักโทษประหารแยกออกจากกัน ใน
ขณะมีชีวิตอยู่ และนักโทษจะตายอย่างทรมานแสนสาหัสจากการเสียเลือดมาก

       บุคคลในประวัติศาสตร์ ที่โดนประหาร โดยวิธีนี้ 
-ทูปัก อามารูที่สอง (Túpac Amaru II) นักต่อสู้เพื่อคนพื้นเมืองในเปรู ที่ต่อสู้กับสเปนในปี 1780
              แต่โดนจับได้และโดนผ่าม้าแยกร่าง
               


-ฟรองซัวส์ ราไวแย็ค (François Ravaillac) นักฆ่าที่ปลงประชนม์พระเจ้าอองลีที่ 4 ของฝรั่งเศส
              ในปี ค.ศ.1610
-โรเบิร์ต ฟรองซัวส์ (Robert-Francois Damiens) พยายามลอบปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 
              ในปี ค.ศ.1757 ที่ฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารอย่างสุดทรมาน ด้วยการเผามือที่ถืออาวุธจะฆ่า
              พระเจ้าหลุยส์ และเอามีดกรีดทั่วทั้งร่าง เอาตะกั่วหลอมเหลวเดือดๆราดลงไปบนแผล จากนั้นก็ใช้ม้า
              4 ตัว วิ่งไปคนละทาง ฉีกร่างออกเป็นส่วนๆ และเอาเศษอวัยวะที่เหลือมาเผา
               


ผู้หญิงก็ไม่เว้นเมื่อ
-ควีน Brunhilda of Austrasia โดนโทษประหารด้วยการใช้ ม้าแยกร่าง เช่นเดียวกัน

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่านจนเพลินเลยค่ะ ขอบคุณๆๆ