วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ใครขี่ม้าขาว หน้าตาคุ้นๆ ............. หนึ่งนรี ขี่ม้าคาว สาวโบราณ


สุขฤาทัย แดงชาด ด้วยวาดหวัง
ยิ่ง’พลัง กระแส แท้มั่นหมาย
เด่น นรี ขี่ม้าขาว สกาวพราย
พุ่งทะยาน สั่นทลาย ปฐพี

อีกนารี ผุสดี ที่ขัดข้อง
ขี่ม้าคาว ผยอง ของเสียดสี
กาบมะพร้าว ขูดฝอย ห่อราณี
ซับเดือดแดง ดุษฎี โดยโบราณ

๖ มิถุนายน ๒๕๕๔


**ปล. จริงๆแล้ว ใจอยากจะสัมผัสว่า ขูดฝอย "หอยราณี" ไม่ก็ "ห้อยโยนี" แต่เกรงจะหยาบโลนไปขอรับ


  เกร็ดลึกลับ น่ารู้

50 ปี  ที่แล้ว มีผ้าอนามัย ประเภท "นารีขี่ม้าขาว" แบบโกเต๊ก
70 ปี  ก่อนหน้า สาวไทยโบราณรุ่นคุณยาย ยังไม่มีผ้าอนามัย ใช้...
1. ใช้กระดาษ สีนวลๆ แผ่นใหญ่ พับเอา
2. ใช้ผ้าห่อขี้เถ้า
3. ใช้เศษผ้าฉีกทบกัน
100 ปี  ศตวรรษที่แล้ว สาวๆรุ่นคุณทวด นุ่งโจงกระเบน ปั่นชายให้แข็งแล้วแทงเข้าหว่างขา
เพื่อช่วยเรื่องซับเลือด (เฉพาะสาวไทยส่วนสาวจีนไม่นุ่งผ้าโจงกระเบน)

สำหรับธรรมเนียม สาวชาววัง ใช้ผ้าขาวแบบผ้าสาลู ผืนยาว ห่อใยมะพร้าวขุยอ่อนๆ ตรงหัวจุกมะพร้าว
ล้างสะอาด ตากแดด แล้วนำมาใช้โดยเหน็บชายผ้าสองข้างที่ชายพก หรือกับเข็มขัดนาค

ส่วน สาวชาวบ้าน ผู้ดี จะใช้กาบมะพร้าวมาปาดให้ได้ขนาดจำเพาะ แล้วนำมาห้อผ้าอีกชั้น โดยวิธีนุ่งคล้ายๆกัน


สาวๆยุคปัจจุบัน สะดวกสบายหายห่วง ใช้แถบกาว แปะติดได้เลย
 ... แต่เอ้อต้องใส่ อันเดอร์แวร์ ก่อนนะคร้าที่รัก  ... มิใช่พอลอกแถวกาวแล้วแปะเข้าไปเลย
     งานนี้มีอาการม้าขนหลุดนะฮ้า ... เหอ เหอ
(สาว ตจว. มาทำงานที่บ้านช่วยคุณแม่ เธอเคยทำมาแล้วจริงๆอ่ะ เวลาดึงออกร้องลั่นบ้านเร้ย)



หมอรุ่ง .. รับรองว่า ถ้าไม่แม่นไม่เอาสตังส์ จริงๆด้วยเอ้า









เชิงอรรถ

หญิงสยามกับวันนั้นของเดือน

เห็นจะเป็นคำกล่าวที่คุ้นหูกันมาตั้งแต่เกิดเลยทีเดียวค่ะ
สำหรับคำกล่าวที่ว่า "เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก"
ซึ่งหากจะนำมาพูดกันในทุกวันนี้แล้ว หลายๆคนคงคิดเหมือนกันใช่มั้ยคะว่า ที่เค้ากล่าวไว้อย่างนั้น
เหตุผลหลักๆ ก็คงเป็นเพราะผู้หญิงต้องแบกรับภาระในการอุ้มท้องและเลี้ยงดูลูกนั่นเอง

แต่ในสมัยก่อนนั้น ยังมีอีกอย่างหนึ่งค่ะที่ลำบากพอๆกับการอุ้มท้องเลยทีเดียว
นั่นก็คือการจัดการกับวันนั้นของเดือนของหญิงชาวสยาม
ในสมัยที่ยังไม่มี ผ้าอนามัย ใช้ ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องลำบากของแท้เลยจริงๆ

ก็เป็นที่รู้กันดีนะคะว่า หญิงชาวบ้านชาวสยามสมัยก่อน
ต้องทำงาน หาบผัก หาบน้ำ บางคนก็ทำงานพอๆกับผู้ชายเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้นการมีประจำเดือนก็เลยเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของหญิงสยาม
ที่นอกจากจะต้องทนกับอาการปวดประจำเดือนแล้ว
ก็ยังต้องคอยระมัดระวังทุกการเคลื่อนไหว จะมาเดินลั้ลลาเหมือนอย่างทุกวันนี้ได้ซะที่ไหนกันล่ะ



เพราะในสมัยโบราณ (ที่นานกว่าสมัยก่อน) นั้น

หญิงชาวสยามเค้าใช้กาบมะพร้าวทุบ หรือนุ่น มาซับประจำเดือน ค่ะ
โดยนำกาบมะพร้าวทุบ หรือนุ่น มาห่อด้วยผ้าให้แน่น
แล้วมัดด้วยเชือกกล้วย หรือเศษผ้ายาวๆ ผูกกับเอวเอาไว้
เหมือนเป็นการนุ่งผ้าเตี่ยวที่ซูโม่เค้านุ่งกันนั่นแหละ

หลังจากนั้น การนำกาบมะพร้าวทุบและนุ่นมาห่อ
เห็นทีจะเป็นเรื่องที่เสียเวลาและลำบากเกินไปหน่อย
หญิงชาวสยามเลยนำเพียงแค่เศษผ้ามาทบกันหลายๆชั้น
ให้หนาพอสำหรับวันมามาก มาปกติ หรือมาน้อย ก็ว่ากันไป
เสร็จแล้วก็เอามานุ่งเป็นเตี่ยวเหมือนเดิม ซึ่งพอใช้เสร็จก็นำมาซักใช้ในวันถัดไปได้
และถ้าถามว่าแล้วถ้ามันมามากจนเปื้อนขึ้นมาทำยังไง
คำตอบคือถ้าไม่มีผ้าผืนใหม่เปลี่ยนก็ต้องปล่อยให้มันเปื้อนอยู่อย่างนั้นล่ะค่ะ
อันนี้ลองไปถามคุณย่าคุณยายดูได้
วันไหนมามากจนผ้าซับไม่ไหว วันนั้นวันมหาประลัยของจริง
เพราะเลือดที่เปื้อนหว่างขาจะเหนียวและแห้งกรัง
ยิ่งใครอวบๆหน่อย เดินแล้วขาสีกัน.. โฮ่ๆๆๆ บรรลัยล่ะคราวนี้

http://www.thaiskinfilm.in.th/skinfilm/th_diaryfilm/movie_pic/moviepic_2-6.jpg

ส่วน ผ้าอนามัยสำเร็จรูปนี่เพิ่งจะถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 120 ปี ก่อนนี่เองค่ะ
ซึ่งก็ถูกนำเข้ามาใช้ในสยามครั้งแรกในช่วงปลายรัชกาลที่ 6
หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่ยังใช้ในหมู่ของหญิงที่มีฐานะเท่านั้น
มาใช้กันอย่าง แพร่หลายจริงๆ ก็เมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ได้ค่ะ
โดยผ้าอนามัยยี่ห้อแรก เห็นจะเป็นผ้าอนามัยแบบห่วงยี่ห้อ "โกเต๊กซ์"
และนั่นทำให้ชาวสยามเรียกผ้าอนามัยว่า "โกเต๊กซ์" นั่นเอง
(เหมือนที่เรียกผงซักฟอกว่า แฟ้บ น่ะแหละ)

และนี่คือหน้าตาของมัน



โฮ่ๆๆๆ
หลังจากมีผ้าอนามัยแบบห่วงใช้ได้ประมาณ 30 ปี
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2515 ผ้าอนามัยก็เริ่มมีวิวัฒนาการเป็นรูปแบบแถบกาวหนาเตอะ
ก่อนที่ญี่ปุ่นจะค้นพบ โพลิเมอร์เจล ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้หลายร้อยเท่า
และผ้าอนามัยก็ถูกพัฒนาให้มีความบางลง บางลงเรื่อยๆ
จนกลายเป็นบางเฉียบเพียง 1 มิลลิเมตร และมีวี่แววว่าจะเป็น 0.1 มิลลิเมตรได้ในอนาคต

ปล่อยให้ผ้าเตี่ยวกาบมะพร้าว และผ้าอนามัยแบบห่วง
กลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำของคุณย่าคุณยายต่อไป..


ขอบคุณข้อมูลจากจดหมายเหตุสยาม : http://nongza.exteen.com/20100114/entry-1


ผ้าอนามัย' มีใช้กันตั้งแต่เมื่อไร



ผ้าอนามัยเริ่มมีวางจำหน่ายตามท้องตลาดเป็นครั้งแรกในราวปี 1895 โดย ได้รับไอเดียมาจากผ้า
พันแผลที่
ทำจากเยื่อไม้ ที่นางพยาบาลใช้ซับให้แก่ผู้ป่วย บรรดาผู้ผลิตผ้าอนามัยสมัยนั้น พยายามสรรหาวัสดุ
ที่สามารถ
ดูดซับประจำเดือนของผู้หญิงได้ดี และมีราคาไม่แพงเกินไป ที่จะใช้แล้วทิ้งโดยผู้ใช้ไม่เสียดายสตังค์

ในตอนแรก มีบริษัทผู้ผลิตผ้าอนามัยส่งสินค้าของตัวเองออกมาวางตลาดอยู่ประมาณ 2-3 เจ้า ทว่า หากนับกัน
จริงๆ แล้วดูเหมือนว่า บริษัทผู้ผลิตผ้าอนามัยโดยตรงรายแรกของโลกน่าจะเป็น
'โกเต็กซ์' มากกว่า  เนื่องจาก
บริษัทอื่นๆ ยังคงเป็นบริษัทผลิตผ้าพันแผลอยู่ในเวลานั้น


อย่างไรก็ดีในสมัยก่อนผ้าอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งนี้ ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในหมู่สาวๆรุ่นเก่ากระเป๋าเบาทั้งหลาย
เพราะเมื่อเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายแล้ว การใช้ผ้าอนามัยที่ซักแล้วเอากลับมาใช้ใหม่ได้อีกดูจะคุ้มกว่ามากด้วยเหตุ
นี้เองจึงทำให้กว่าผ้าอนามัยจะกลายเป็นสินค้าติดตลาดได้ ต้องใช้เวลานานหลายปีดีดักทีเดียว


ส่วนคำถามที่ว่าก่อนที่จะมาเป็นผ้าอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งสาวๆสมัยก่อนเขาใช้อะไรซับประจำเดือนกันนั้นก็มีด้วย
กันหลายอย่าง แรกเริ่มเดิมทีในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหรรมก็จะมี ขนสัตว์ หญ้ามอส ฟองน้ำทะเล หรือ สาหร่าย
เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาการผลิตสิ่งทอก็เริ่มหันมาใช้เศษผ้า ผ้าดิบ หรือ ผ้าที่ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่
ได้อีก


ปัจจุบัน ผ้าอนามัยกลายเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับสาวๆไปเสียแล้วไม่ต่างอะไรกับข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำ
วันประเภทอื่น เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน ที่ต้องหาซื้อมาใช้กัน ทำให้บรรดาผู้ผลิตพากันแข่งขันพัฒนาประสิทธิ
ภาพผลิตภัณฑ์ของตัวเองออกมาวาง ตลาด ซึ่งผลประโยชน์ก็ตกอยู่ที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ นั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น: