วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้านี่แหละ คือ พระ และ เจ้า

html tracking
จำนวนเข้าชม

การตกผลึกของ นิชเช่นิสซ์ และ แมคคลีเวลลี
ผ้าพันคอขนจิ้งจอกขี้โกงพาดพันคออภิมนุษย์


  ข้านี่แหละ คือ พระ และ เจ้า
    ฟรีดิช นิชเช่ Nietzsche


  ข้านี่แหละ คือ พระ และ เจ้า..ไม่ได้ว่าใคร..นา

เจตจำนงสู่อำนาจ (willing to power) ตามธรรมชาติของ มนุษย์คือการผลักดันตนเองไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ จน
สามารถข้ามพ้นหรือเอาชนะตนเองได้จนเป็น อภิมนุษย์ (Over Man)  หรือ คนเหนือคน  

Over Man ไม่ยึดติดอะไรมากนัก, พยายามจะไม่ให้คนเชื่อในระบบศีลธรรม เพราะว่าศีลธรรมก็เป็นเพียงการตีความ
มันไม่จริงมันไม่มีจริง หรือมันไม่ได้ถูกต้องไปกว่าระบบอื่นๆ
 แต่พวกเรา กลับถูกครอบงำให้ตกอยู่ภายใต้ระบบศีลธรรม (ศาสนา)

อภิมนุษย์  คือคนที่กำหนดค่านิยมของตนขึ้นมาเองโดยไม่ยอมรับตามสิ่งที่สังคมยัดเยียดให้ ไม่ใช่การเป็นผู้มีอำนาจ
เหนือผู้อื่น จากชาติตระกูล ฐานันดรหรือสายเลือด

เหตุผลเชิงเดียว การล้างบาง เมื่อเริ่มได้ผลผู้คนยำเกรง ผู้มีอำนาจจึงยึดถือว่าวิธีการนี้(ความรู้แบบนี้)ถูกต้องและสถาปนา
ว่าสิ่งนี้คือ  ความจริงของชาติ(โลก)
            ซึ่งผลที่ปรากฏกลับเป็นว่า แทนที่ประเทศชาติ จะสงบสุขกลับวุ่นวายมากขึ้นๆ นั่นเพราะโลกเรามีระบบคิดอีกหลาย
เหตุผลรองรับไม่ใช่ ทฤษฏีแนวคิดแบบเก่าเช่นนี้ นักคิด,นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่พยายามคิด ทฤษฎีกระบวนระบบ (system
theory) ทฤษฎีความไร้ระเบียบ (chaos theory) เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ และเสนอทางออกของสังคมได้ตรงจุด
ซึ่งต้องไปไกลเกินกว่า การล้างเผ่าพันธุ์หรือทำลายล้างผู้ที่คิดเห็นแตกต่าง

ศาสนาและระบบศีลธรรมทั้งปวง มันสร้างความลำบากใจให้กับมนุษย์(บางพวก) คือ มนุษย์มีความต้องการพลัง(power) มี
ความต้องการหลายๆอย่าง แต่พอมีระบบศาสนา(ศีลธรรม)เกิดขึ้น ศีลธรรมนั้นจะหักห้ามและขัดแย้ง คนบางพวกที่จ้องแสวง
หาอำนาจ จึงพยายามที่จะให้คนทุกคนทิ้งศาสนา และศีลธรรมนี้ไปเสีย


การตกผลึกของอำนาจนิยมบนพื้นฐานจากทฤษฏีของ นิชเช่ และแมคคลีเวลลี
     ผ้าพันคอขนจิ้งจอกขี้โกงบนลำคออภิมนุษย์



 


ฟรีดิช นิชเช่ Nietzsche นักปรัชญาผู้มีเชื้อสายของหมอสอนศาสนานิกายลูเธอรันและสืบเชื้อสายตระกูลขุนนางโปแลนด์
เขาเกิดเมื่อกลางศตวรรษที่ 19  คำกล่าวสำคัญของเขาก็คือ พระเจ้าตายแล้ว ซึ่งเป็นผลทำให้เขา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น
นักปรัชญาผู้อื้อฉาว หรือกบฏในทางปรัชญา ทั้งยังเป็นนักปราชญ์ผู้เขียนหนังสือปรัชญาด้วยภาษากวีนิพนธ์ งานสำคัญของ
เขาคือ พจนาซาราทุสตรา(Thus Spoke Zarathustra) จนทำให้เขามีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วโลก จนมีผู้นำ
แนวความคิดไปใช้และวิเคราะห์ต่ออย่างมากมายสำหรับคนไทยแล้ว นิทเช่ มีความน่าสนใจในด้านทัศนะและแนวคิด ซึ่งหนังสือ
เล่มนี้จะช่วยเสริม ความเข้าใจต่อนิทเช่ให้ผู้อ่านทราบในหลายๆ ด้านและมองงานของเขาในหลายแง่หลายมุมมากขึ้น


Thus Spoke Zarathustra: A Book for Everyone and Nobody (Oxford World's Classics)
พจนาซาราทุสตรา (Thus Spoke Zarathustra)

คือพจนาซาราทุสตรา เป็นเรื่องราวของศาสดาผู้หนึ่งที่พยายามพร่ำสอนผู้คนที่ ฟรีดิช นิชเช่ ตั้งชื่อตัวเอกว่า ซาราทุสตรา
Zarathustra
ก็เพื่อให้นึกไปถึง โซโรอัสเตอร์ ศาสดาของชาวเปอร์เซียโบราณ(600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งสอนแนวทาง
ปฏิบัติที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างปัญญา และให้คนตัดสินใจเลือกดำเนิน ชีวิตเองด้วยสำนึกผิดชอบชั่วดี โดยให้เลิก ละความเชื่อ
งมงายเรื่องไสย ศาสตร์และสิ่งที่มองไม่เห็น

นิตเช่ แบ่งมนุษย์ออกเป็น ๓ ประเภท หรือ ๓ ระดับ คือ

๑) ระดับทาส มนุษย์ในระดับนี้จะไม่เป็นตัวของตัวเองเพราะกลัวความรับผิดชอบ ไม่กล้ามีความคิดของตัวเอง จึงนิยม
เดินตามอุดมการที่คนส่วนมากยอมรับ ไม่กล้าทำอะไรผิดแผกไปจากผู้อื่นเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คนประเภทนี้ส่วนมากคิด
ว่าการถือตาม ศีลธรรมแบบทาส (slave morality) เช่นนี้เป็นวิธีที่ได้เปรียบที่สุดแล้ว เพราะปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องคิด
และไม่ต้องรับผิดชอบ เพียงแต่ยอมให้เกียรติคนบางคนที่มีอำนาจเหนือตนก็พอแล้ว นิตเช่ถือว่าพวกนี้คิดสั้น คิดว่าการกระทำ
เช่นนี้เป็นความฉลาด แต่นั่นหาใช่อุดมการของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่

๒) ระดับนาย มนุษย์ระดับนี้กล้าเสียและกล้าเสี่ยงเพื่อความเป็นใหญ่เหนือคนอื่น เขาจะทำอะไรตามใจ โดยถือคติว่า
ตายเสียดีกว่ายอมจำนน เมื่อเขากล้าเสี่ยงเช่นนี้ มนุษย์ระดับทาสก็จะเกรงกลัวยึดถือเป็นที่พึ่งและยอมให้เป็นนาย เขาจึงถือ
ศีลธรรมแบบนาย (master morality) ตราบเท่าที่ไม่มีคู่แข่ง ครั้นมีคู่แข่งก็จะต้องต่อสู้กันจนตายไปข้างหนึ่ง แต่ถ้าหากพบผู้
ที่มีพลังเข้มข้นแสดงความเป็นนายเหนือตนมากๆ เห็นว่าไม่มีประตูสู้แน่ๆ  เขาจะยอมจำนนโดยถือศีลธรรมแบบทาส ทั้งนี้เพื่อ
จะได้มีโอกาสใช้ศีลธรรมแบบนายกับผู้ที่อ่อนแอกว่าต่อไปได้โดยสะดวก บางครั้งเขาอาจจะยอมจำนนต่อคู่แข่งที่มีพลังไล่เรี่ย
กับตนชั่วคราว เพื่อหาโอกาสล้มล้างในเวลาต่อมา

นิตเช่คิดว่ามนุษย์ในระดับนายมีพลังเข้มข้นกว่ามนุษย์ระดับทาส จึงเอาเปรียบทุกคนและทุกสิ่งที่อ่อนแอกว่าตน
ในทุกวิถีทาง พวกนี้ทำความเจริญให้แก่มนุษยชาติ แต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งมนุษย์ระดับทาส
และระดับนายต่างก็มีกิเลสเป็นเครื่องนำทาง จึงต่างก็เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยกันทั้งสิ้น

๓) ระดับอภิมนุษย์ (superman หรือ overman ตรงข้ามกับ subman หรือ last man – wbm) มนุษย์ในระดับนี้ได้แก่
นักปราชญ์ผู้เห็นแจ้งในสัจธรรม  รู้ว่าเบื้องหลังของสิ่งที่ปรากฎทั้งหลายคือเจตจำนงที่จะมีอำนาจ  รู้ว่าพลังหน่วยย่อยทั้งหลาย
ดิ้นรนเอาเปรียบกันอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงตกเป็นเหยื่อแห่งการเอาเปรียบกันอย่างไม่รู้จบสิ้น  นิตเช่คิดว่าศาสดายิ่งใหญ่ทั้ง
หลายในอดีตได้เห็นสัจธรรมนี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถพูดออกตรงๆ อาจเป็นเพราะยังไม่พบคำศัพท์ที่เหมาะสมหรืออาจจะกลัว
ผู้ฟังไม่เข้าใจ นิตเช่คิดว่าตนเองเห็นแจ้งในสัจธรรมเช่นกันและจะทดลองเสี่ยงพูดตรงๆ ดู

อภิมนุษย์ย่อมมีใจอุเบกขา มีใจสงบ ไม่ตะเกียกตะกาย เพราะรู้ข้อเท็จจริง

ทางปฏิบัติ
มนุษย์เราเกิดมาจะอยู่ในระดับทาสหรือระดับนายอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าได้ส่วนแบ่งจากพลังธรรมชาติมาเข้มข้นเพียงไร
ไม่ว่าจะเกิดมาในระดับใดก็ย่อมไม่อยู่ในระดับที่สมบูรณ์  หากไม่ปรับปรุงตัวเองก็จะมีความทุกข์และก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
เพราะต่างก็เห็นแก่ตัว  พยายามดิ้นรนเอารัดเอาเปรียบกันและกัน  ทางพ้นทุกข์มีอยู่อย่างเดียวคือ  แต่ละคนจะต้องมุ่งปรับปรุง
ตัวเองให้เป็นอภิมนุษย์ วิธีปรับปรุงก็คือศึกษาปรัชญาให้รู้สัจธรรมอันแท้จริง และฝึกฝนตนให้มีใจอุเบกขาและสงบ หากในโลก
นี้ทุกตนเป็นอภิมนุษย์กันทั้งหมด มนุษย์เราจะอยู่กันอย่างสงบสุข ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน


พูดถึงเรื่องของ Over Man ผมคิดว่ามีคนให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้กันมากเกินไปใน ทฤษฎีของนิทเช่ พวกindividuals
ที่สามารถควบคุมตนเองได้โดยไม่สนใจใคร จะแต่งตัวโป๊หรืออะไรก็แล้วแต่โดยไม่สนใจคนอื่น อันนี้เป็นเรื่องยากที่จะหาคนที่
มีความกล้าหาญแบบนี้ อันนี้คือลักษณะของOver Man เป็นคนที่กล้าทวนกระแส กล้าต่อต้านกับกระแส หมายความว่าเป็นการ
ยกเลิก categories ทาง ethic เป็นการยกเลิกไม่สนใจเรื่องจริยธรรมเลย  ทำอะไรที่ตรงกันข้ามกับ สิ่งที่ผู้คนทั่วไปกำลังคิดกัน
อยู่  artistic creativity นิทเช่บอกว่าอันนี้สรุปคือ ถ้าสมมุติว่าเรายอมรับว่าพระเจ้าไม่มีอยู่ ไม่มีระบบศีลธรรมอะไรทั้งสิ้นที่
มาช่วยเหลือเราในการดำเนินชีวิตได้ คงจะมีหลายต่อหลายคนรู้สึกผิดหวัง คือหมายความว่าผู้คนทั่วไปมักจะผิดหวัง

  

ขออ้างถึง Schopenhauer นิดหนึ่งซึ่งเป็นหนังสือที่ นิทเช่ชอบมากเป็น pessimism หรือ มองโลกในแง่ร้าย คือพอเรา
ไป
ตระหนักถึงกระบวนการชีวิต will of power เราจะสังเกตว่า เรานี่แทบไม่เกี่ยวเลย มันจะบังคับให้เราไปหาอะไรไปเรื่อยๆ
Schopenhauer
ได้มาสรุปว่า เป็นเรื่องน่าเศร้า จะมีอย่างเดียวที่ช่วยเหลือเราได้ก็คือศิลปะ เป็นบางครั้ง  แต่ นิชเช่ บอกว่า
ไม่ต้องไปเศร้า ยอมรับมันอย่างเต็มที่ หัวเราะออกมาดังๆ บ้าบอก็ไม่เป็นไร
**
เขาบอกว่า ยอมรับมันเสียสำหรับความ
ไร้สาระของชีวิตแบบนี้ แต่ในความเป็นจริง คนที่ผิดหวังนั้นมักจะอยู่เฉยๆไม่ยอมทำอะไรทั้งสิ้น แต่นิทเช่บอกว่า
  "อย่าสนใจระบบศีลธรรมอะไรทั้งสิ้น และพยายามสร้างชีวิตตัวเองเหมือนผลงานศิลปะ"

** ปล. วาระสุดท้าย นิชเช่ เป็นบ้าครับ ล้มป่วยอยู่ถึง 10 ปี  



       Nietzche เขียนหนังสือแนวปรัชญามากมาย ที่สำคัญคือ The Geology of Morals ว่าด้วยศีลธรรมเชิงวิเคราะห์
ที่ชัดเจนที่สุดว่ากันว่าแนวคิดปรัชญาสมัยใหม่ เช่น
จิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) ของ Sigmund Freud หรือ
อัตถิภาวนิยม (Existenialism) ของ Jean Paul Sarte หรือ กระทั่งลัทธิ
Postmodern ล้วนเป็นหนี้แรงบันดาลใจจากนิชเช่ทั้งสิ้น
นิชเช่ กล่าวไว้ว่า  Man alone in irrational world  มนุษย์ลำพังเท่านั้นที่อยู่ในโลกที่ไร้เหตุผล  

นิชเช่  ถึงกับกล่าวว่า ความจริงทั้งหลายคือมายาที่ถูกลืมว่าเป็น มายา
Truths are illusions about which it has been forgotten that they are illusions





มนุษย์ผู้ไม่มีคำว่า....พอ

เห็นสถานการณ์บ้านเมืองทุกวันนี้แล้ว ทำให้คิดถึงคำพูดของ ฟรีดิช นิชเช่ Nietzsche นักปรัชญาสังคมชาวเยอรมันที่พูดถึง
ธรรมชาติของมนุษย์บางจำพวกเอาไว้อย่างตรงใจผม แม้ว่าในทุกวันนี้   ยังมีหลายกระแสความคิดเห็นวิจารณ์ว่า แท้จริงแล้ว
เจ้าตัวไม่ประสงค์ให้จัดระบบระเบียบสังคมด้วยการคัดพันธุ์หรือตัดตอนคน อ่อนแอออกไป อย่างที่พวก นาซี (Nazis) เอาคำ
พูดของ
นิชเช่ ไปขยายผล ฆ่ายิวนับล้านคน


คำพูดของ นิชเช่ เป็นการมองสังคมเหมือนของที่อยู่สุดขั้วกัน เช่น สังคมมีดีก็มีเลว มีนายก็ต้องมีบ่าว แต่ในคนที่แข็งแรง
กว่าหรือมีความโดดเด่นนั้นทุกคนมีสิ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวคือ ความกระหายอำนาจ(Will-to-power) ทำให้ต่างก็รอจังหวะเวลา
โอกาสที่เหมาะสม เพื่อจะผลักให้ตัวเองนำหน้าคนอื่นๆออกไป และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ในบางชุมชนการยึด
เอาอำนาจเข้ามาเป็นของตัวนั้น ได้กลายเป็นวัฏจักรที่แม้วันคืนผ่านไปนานนับทศวรรษ ก็ยังมี ลมหวน เป็นเครื่องพิสูจน์คำพูด
ของ นิชเช่ ได้เป็นอย่างดี


แม้ว่าหลายฝ่ายจะมีความกังวลกันว่า  ศึกนอก ศึกใน  ที่กำลังเป็นปัญหาทั้งหมดนี้ อาจยืดเยื้อยาวนาน แต่ลึกๆแล้วทุกอย่าง
อยู่ที่เงื่อนไขสำคั คือ ความไม่รู้จักพอ ของมนุษย์อันเป็นต้นเหตุที่มาของปัญหาทั้งหมดโดยเฉพาะ ความไม่พอในอำนาจ

เพราะ ผู้ที่บริโภคอำนาจในปัจจุบันก็ เป็นห่วง และเริ่มเสพติดกับมันกระทั่งมองเห็นว่า จะอย่างไรแล้วก็คงปล่อยให้อำนาจเก่า
ฟื้นคืนชีพมาไม่ได้ เพราะนอกจากกลัว
ถูกสอย ยัง เสียดาย ความเป็นอภิสิทธิ์ชน ทั้งการต้อนรับดูแล และเกียรติยศต่างที่ทำ
ให้คนเราเห็นผิดเป็นชอบมานักต่อนักแล้ว ซึ่งคงไม่จำเป็นต้องตอบคำถามว่าแม้ดูจะพยายามสมานฉันท์อย่างไรจึงไม่บรรลุผล
เสียที

ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์












ไม่มีความคิดเห็น: