ต่างจากสงครามปกติ ที่เป็นสงครามระหว่างรัฐ สงครามกลางเมืองนั้นเป็นสงครามที่ประชาชนในประเทศเดียวกัน
หยิบอาวุธขึ้นมาประหัตประหารกันเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อชิงอำนาจรัฐ หรือขับเคลื่อนนโยบาย ตามที่ตัวเองต้องการ
ความเสียหายของสงครามกลางเมืองนั้นมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงทั้งในแง่จำนวนผู้ เสียชีวิต รวมไปถึงความเสียหาย
ทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล
ประเทศที่เกิดสงครามกลางเมืองต้องใช้เวลายาวนานในการเยียวยา กว่าจะกลับเข้ามาแข่งขัน
ในตลาดโลกได้อีกครั้งหนึ่ง
ประเทศไทย เคยเกิดสงครามกลางเมืองสมัยใหม่ มาแล้ว 2 ครั้ง
ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 การต่อสู้ระหว่าง รัฐบาลคณะราษฎร ซึ่งนิยมประชาธิปไตยตามอย่างตะวันตก กับ
กบฎบวรเดช ที่ต้องการ เปลี่ยนประเทศกลับไปเป็น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ครั้งที่สอง คือสงครามระหว่าง รัฐบาลไทยที่กุมอำนาจโดยคณะทหาร กับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ในช่วงหลัง เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นต้นมา
สงครามครั้งแรกเป็นการต่อสู้แบบจำกัดวงเฉพาะในกลุ่มชนชั้นนำที่กุมกำลังทหาร
แต่สงครามครั้งหลังนั้นมีผลกระทบต่อประชาชนสูงกว่ามาก ขับเคลื่อนโดยกำลังนักศึกษาที่หนีเข้าป่า
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม และกำลังชาวบ้านในต่างจังหวัด ทำให้การเจรจาหรือการเอาชนะสงครามแบบเบ็ดเสร็จทำได้
ยากกว่า และเกิดสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า
สงครามประชาชนในไทย
นั้นได้ถุกประกาศแล้วอย่างไม่เป็นทางการ นับแต่เริ่มการ ปฏิวัติรัฐประหาร กันยายน 2549 ขั้นตอน
การต่อสู้ได้เพิ่มระดับขั้นความรุนแรง จนถึงระยะที่ อาจจะมีการติดอาวุธสงครามเข้าต่อต้าน ห้ำหั่นกัน ซึ่งนั้น
จะเป็น ฟางเส้นสุดท้าย ของคำว่าสมานฉันท์ และถือเป็น สิ้นสุด การประนีประนอม กับ ระบอบศักดินาอำมาตย์
อย่างไรก็ดี บทความนี้มิได้เห็นชอบด้วย หรือชี้แนะให้มีการใช้อาวุธ เข้าห้ำหั่นกันเพื่อตัดสินแพ้ชนะ
หากแต่ขอเสนอแนวทางต่อต้าน ขั้นก่อนที่ทั้งสองฝ่าย จะต้องแลกกันด้วยลูกกระสุนปืน และสรรพอาวุธนานาชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น