วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เหตุการณ์ ความรุนแรงในประเทศไทย "สมาชิกสภายุโรป"

html tracking
จำนวนเข้าชม

BBC


       
Violence in Thailand
Violence in Thailand was condemned by MEPs
(Members of European Parliaments) on 20 May 2010.

In a change to the planned agenda, MEPs held a debate on the current conflict
between the so-called "red shirts" and government supporters known as "yellow shirts".
Dutch liberal MEP Marietje Schaake said that a state of emergency should not be used to restrict
personal freedoms. A number of people have been killed in violence between protestors and the
police in Bangkok, and a curfew has been established. Irish socialist MEP Joe Higgins said the Thai
government were describing the protestors as "terrorists", when in fact they were "impoverished
farmers and the urban working class".

ความรุนแรงในประเทศไทย ได้ถูกประณามโดย สมาชิกสภายุโรป วันที่ 20 พฤษภาคม 2010

ถูกจัดเข้าในระเบียบ วาระ การประชุม, สมาชิกสภายุโรป จัดอภิปรายในวาระปัจจุบัน  กรณีความขัดแย้งใน
ประเทศไทย ระหว่างกลุ่มที่เรียกว่า "เสื้อแดง" และ กลุ่มผู้ที่สนับสนุนรัฐบาล ที่เรียกว่า "เสื้อเหลือง"

สมาชิกสภา กลุ่มดัตช์เสรีนิยม     :MEP Marietje Schaake กล่าวว่าการ ประกาศใช้ พรก.สถานการฉุกเฉิน
ไม่ควรใช้เพื่อ จำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล  โดยก่อให้เกิดจำนวนคนที่ถูกฆ่า
ในความเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างผู้ ประท้วงและตำรวจ ในกรุงเทพฯ และ
การประกาศเคอร์ฟิว

สมาชิก สภา กลุ่มไอริชสังคมนิยม :MEP Joe Higgins กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้อธิบายว่าผู้ประท้วง เป็นผู้ก่อการร้าย
                                                แต่ในความเป็นจริง พวกเขาคือ เกษตรกรผู้ยากไร้ และชนชั้นแรงงานในเมือง


สหภาพยุโรป European Union (EU)
เป็น องค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วย รัฐสมาชิก 27 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พศ.2535
ภาย ใต้ สนธิสัญญามาสทริชต์ แทนที่ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)

สหภาพยุโรปมีอิทธิพลสูง ต่อเวทีโลก เนื่องด้วยมีประชากรกว่า 500 ล้านคนและมี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ  คิดเป็นกว่า 30% ของโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

แม้สหภาพยุโรปจะเป็นการรวมกลุ่มของรัฐหรือเป็น องค์การระหว่างประเทศ แต่โครงสร้างของสหภาพยุโรปนั้น
มีลักษณะ "เหนือชาติ" (supranational trait) อย่างชัดเจน ที่กล่าวเช่นนี้เพราะบรรดารัฐสมาชิกไม่เพียงรวม
ตัวกันเท่านั้น หากยังร่วมสร้างสรรค์สถาบันหรือหน่วยงานภายใน ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่งโดย
เฉพาะ อันประกอบไปด้วย สภายุโรป คณะมนตรี คณะกรรมาธิการ และศาลยุติธรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้



สภายุโรป

สมาชิกสภายุโรป MEPs ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทุก ๆ 5 ปีจากแต่ละประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก 732คน
จาก 27ประเทศ โดย ในจำนวนนี้ เป็นผู้หญิงเกือบหนึ่งในสาม (222คน) แม้สมาชิกแต่ละคนจะมาจาก
รัฐ สมาชิก แต่การจัดกลุ่มภายในรัฐสภานั้นไม่ได้แบ่งตามสัญชาติ แต่แบ่งโดยทิศทางของพรรคการเมือง
กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ  

                 พรรคประชาชนยุโรป (European’s People Party) และ
                 พรรคประชาธิปไตยยุโรป (European Democrats)
                 กลุ่มสังคมนิยม เสรีนิยม และอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม (กรีน)

ที่ทำการสภายุโรป ตั้งอยู่ในสองเมืองคือ สตราสบูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส และ
บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยประธานสภาคนปัจจุบันคือ Mr.Hans Gert Pottering ชาว เยอรมัน

ภารกิจหลักของสภายุโรป จะเป็นการร่วมตัดสินใจกับคณะมนตรีในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การพิจารณาร่าง
กฎหมายของสหภาพ ซึ่งริเริ่มโดย คณะกรรมาธิการ การอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป ให้การรับรอง
ความตกลงระหว่างประเทศของ สหภาพยุโรปกับประเทศนอกกลุ่ม 
และที่สำคัญที่สุดคือ  การให้การรับรอง ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการยุโรป




.

ไม่มีความคิดเห็น: