ถนิมสร้อย [ถะหฺนิมส้อย] ว. หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็น
อ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น โดนว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ ทำเป็น
แม่ถนิมสร้อยไปได้, สนิมสร้อย ก็ว่า.
....... link >> อากง
วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ARTICLE19: เรียกร้องให้ปล่อยตัวอากงระบุเป็นคำพิพากษาที่่น่าตกตะลึง
องค์กรสิทธิ ‘อาร์ติเคิล 19’-‘แอมเนสตี้ฯ’ ประณามคำตัดสินคดี ’อากง’
Sun, 2011-11-27 14:06
องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ‘อาร์ติเคิล 19’ แถลงการณ์ประณามผลการตัดสินคดี ‘อากง’ เหยื่อคดีหมิ่นฯ รายล่าสุดที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ร้องรัฐไทยต้องโมฆะตัดสินดังกล่าว พร้อมแก้ไขมาตรา 112-พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ด้าน ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล’ ชี้ ‘อากง’ เป็น ‘นักโทษการเมือง’
สืบเนื่องจากคดีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ- พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (17 พ.ย. 54) เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือหมิ่นเบื้องสูงไปหา เลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจำนวน 4 ข้อความนั้น
องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศด้านสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก ‘อาร์ติเคิล 19’ (Article 19) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ได้ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสินดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า คำตัดสินดังกล่าวเป็นที่น่าตกใจอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงการจงใจละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดเจนของทางการไทย
“การตัดสินลงโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัด แจ้ง” นายเบนจามิน ซาแวกกี นักวิจัยสากลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำประเทศไทยกล่าว “อำพลเป็นนักโทษการเมือง” เขาระบุ
นายเบนจามินยังชี้ว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 มีผลเหนือคำสั่งตามรัฐธรรมนูญของไทย และบทบัญญัติและการใช้ของกฎหมายดังกล่าว ยังขัดแย้งกับพันธกรณีของไทยที่ต้องมีต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมืองแห่งสหประชาชาติแล้วตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด และสิทธิของพลเมืองในการแสดงความเห็นและการแสดงออกโดยเท่าเทียมกัน
องค์กร ‘อาร์ติเคิล 19’ ยังได้เรียกร้องให้ไทยยกคำตัดสินในคดีนายอำพลเป็นโมฆะโดยทันที เนื่องจากมองว่า การใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงออกอย่างร้ายแรง และยังปรากฎถึงการใช้หลักฐานที่ยังขาดความน่าเชื่อถือในการเอาผิดนายอำพลอีก ด้วย อาร์ติเคิล 19 ระบุในแถลงการณ์ว่า จะยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และแก้ไขพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับรัฐธรมนูญไทยและมาตรฐานกฎหมายสากลต่อไป
ด้านนายสมชาย หอมลออ กรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ให้ความเห็นว่า การตัดสินคดีนายอำพลแสดงให้เห็นถึงความไม่เอาจริงเอาจังของรัฐบาลในการแก้ ปัญหาการละเมิดสิทธิ เช่นเดียวกับการดำเนินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และชี้ว่า การใช้กฎหมายดังกล่าวในทางที่ผิด ยิ่งแต่จะทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายที่เห็นต่างในสังคมรุนแรงขึ้น และนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่สถาบันฯ มากกว่าเดิม
Credit : คุณกำแพงลม
Sun, 2011-11-27 14:06
องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ‘อาร์ติเคิล 19’ แถลงการณ์ประณามผลการตัดสินคดี ‘อากง’ เหยื่อคดีหมิ่นฯ รายล่าสุดที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ร้องรัฐไทยต้องโมฆะตัดสินดังกล่าว พร้อมแก้ไขมาตรา 112-พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ด้าน ‘แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล’ ชี้ ‘อากง’ เป็น ‘นักโทษการเมือง’
สืบเนื่องจากคดีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ- พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (17 พ.ย. 54) เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือหมิ่นเบื้องสูงไปหา เลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจำนวน 4 ข้อความนั้น
องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศด้านสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก ‘อาร์ติเคิล 19’ (Article 19) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ได้ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสินดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า คำตัดสินดังกล่าวเป็นที่น่าตกใจอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงการจงใจละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดเจนของทางการไทย
“การตัดสินลงโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัด แจ้ง” นายเบนจามิน ซาแวกกี นักวิจัยสากลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำประเทศไทยกล่าว “อำพลเป็นนักโทษการเมือง” เขาระบุ
นายเบนจามินยังชี้ว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 มีผลเหนือคำสั่งตามรัฐธรรมนูญของไทย และบทบัญญัติและการใช้ของกฎหมายดังกล่าว ยังขัดแย้งกับพันธกรณีของไทยที่ต้องมีต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมืองแห่งสหประชาชาติแล้วตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด และสิทธิของพลเมืองในการแสดงความเห็นและการแสดงออกโดยเท่าเทียมกัน
องค์กร ‘อาร์ติเคิล 19’ ยังได้เรียกร้องให้ไทยยกคำตัดสินในคดีนายอำพลเป็นโมฆะโดยทันที เนื่องจากมองว่า การใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงออกอย่างร้ายแรง และยังปรากฎถึงการใช้หลักฐานที่ยังขาดความน่าเชื่อถือในการเอาผิดนายอำพลอีก ด้วย อาร์ติเคิล 19 ระบุในแถลงการณ์ว่า จะยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และแก้ไขพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับรัฐธรมนูญไทยและมาตรฐานกฎหมายสากลต่อไป
ด้านนายสมชาย หอมลออ กรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ให้ความเห็นว่า การตัดสินคดีนายอำพลแสดงให้เห็นถึงความไม่เอาจริงเอาจังของรัฐบาลในการแก้ ปัญหาการละเมิดสิทธิ เช่นเดียวกับการดำเนินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และชี้ว่า การใช้กฎหมายดังกล่าวในทางที่ผิด ยิ่งแต่จะทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายที่เห็นต่างในสังคมรุนแรงขึ้น และนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่สถาบันฯ มากกว่าเดิม
Credit : คุณกำแพงลม
Amphon Tangnoppaku, also known as Ar Kong, has been sentenced to 20 years in prison on 23 November 2011 by a Thai criminal court for sending four text messages deemed as insulting against the Queen of Thailand. This is the heaviest sentence ever handed down for a lèse-majesté case.
Amphon was convicted for violating both the lèse-majestélaw (Article 112 of the Penal Code) and the 2007 Computer Crimes Act, but was sentenced under the lèse-majesté law which allows for heavier penalties. Amphon is to serve, consecutively, five years imprisonment for each text message. Amphon was accused of sending these text messages to the personal secretary of ex-Prime Minister Abhisit Vejjajiva during the street protests in May 2010.
“This verdict is shocking and shows the Thai authorities’ complete disregard for freedom of expression,” says Dr Agnès Callamard, ARTICLE 19 Executive Director. “We were encouraged last month when the government admitted that the use of the lèse-majesté law can adversely affect freedom of expression, however this latest development proves those words to be empty. We are saddened for Amphon and this extreme injustice.”
During Thailand’s human rights review before the United Nations Human Rights Council last month, ARTICLE 19, and a number countries including France and Norway publicly stated that the lèse-majesté law, by its very existence, constitutes a threat to legitimate political expression and freedom of expression. Many other nations including Indonesia and Brazil expressed concerns and recommended reform of the laws.
ARTICLE 19 is also alarmed about the lack of reliable or compelling legal evidence in this conviction. Although the judge conceded that the technical evaluation of evidence could not conclusively incriminate Amphon, the court proceeded to find him guilty.
Since his arrest on 3 August 2010, Amphon has been detained without bail and will likely be moved to a high penalty prison on Friday 25 November 2011. ARTICLE 19 is deeply concerned about Amphon’s welfare, as he suffers from laryngeal cancer and lacks access to proper medical treatment.
ARTICLE 19 calls for the immediate reversal of Amphon’s conviction and for his immediate release. Whilst under government authority, Amphon must be given proper medical care to ensure his well-being. Furthermore, ARTICLE 19 continues to call for the lèse-majesté law to be repealed and for the Computer Crimes Act to be brought in accordance with the Thai constitution and international standards.
เขียนโดย JJ_Sathon
อ้างอิง : http://www.go6tv.com/2011/11/article19.html