วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

มิต้องแหกปากอวดโอ้ ว่า "รักชาติ" โดยอ้างสิ่งศักดิสิทธิ์อุปโลกน์ มาครอบงำ



ปฏิบัติการ "คามิคาเซ" ใน ปี 2011 ของ วีรชนนิปปอน

                          

          
ข่าว abc news
ทีมอาสาสมัครสูงวัย 50 นาย ชาวญี่ปุ่น (ส่วนใหญ่อายุ50ปีขึ้นไป) อาสาเสี่ยงภัย
เข้าไปแก้ไข หยุดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ณ.โรงไฟฟ้าที่มีปัญหา


อ่านและดูข่าว .. ปฏิบัติการที่กล้าหาญ และเสียสละ เป็นอย่างสูงของ ทีมกู้สถานะการณ์ แก้ไข
วิกฤติร้ายแรงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ
ของชาวญี่ปุ่นแล้ว ผมสะท้อนใจเมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่
ในชนชาติของเราครับ ..หรือเพียงแค่การเข้าคิวต่อแถวรอรับความช่วยเหลือของประชาชนของเขาในยามวิกฤิต
การณ์ของประเทศขั้นสูงสุด เห็นมุมมองหลายๆอย่าง ในเรื่อง วินัย ความรักชาติ

ที่มิต้องแหกปากออกเสียงอวดโอ้ ว่า "รักชาติ" ของคนในบางประเทศ
โดยอ้างเอาความศักดิสิทธิ์อุปโลกน์ ของรูปหล่อโลหะมาครอบงำสำทับ กำหนดให้ต้องทำ

      

อย่างไรก็ดี หากศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติญี่ปุ่นแล้ว ท่านจะเข้าใจ มองเห็นภาพทะลุปรุโปร่ง
อธิบายว่า เพราะอะไร ทำไม อย่างไร ? ... ถึงปรากฏภาพที่คนทั้งโลกได้เห็น
 
         ภาพโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลีย์ฟูกูชิมะ ที่ออกแบบให้รับมือแผ่นดินไหว ได้แค่ระดับ7
                           แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ ความสั่นสะเทือนรุนแรงในระดับ 9


    
                         

และเป็นที่ค่อนข้างแน่นอนว่า ผู้เสียสละทั้ง 50 นาย ต้องประสพความสูญเสีย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ใน
"ภารกิจพลีชีพเพื่อกอบกู้โลก" ครั้งนี้..สมควรที่ประชาชนโลกจักต้องเรียกเขาว่า"Hero"และจารึก
ไว้ในประวัติศาสตร์ ความทรงจำของมวลมนุษยชาติ

   


                             

คามิคาเซ หรือ Kamikaze เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง ลมสวรรค์ หรือ ลมแห่งเทวะ และ หมายถึงลมสลาตัน
ที่ได้ทำลาย กองทัพเรือจำนวนมหาศาลของมองโกล ซึ่งเข้ามารุกรานญี่ปุ่นจนเสียหายทำการบุกญี่ปุ่นต่อไปไม่ได้..
จนต้องถอยทัพกลับไป ในปี ค.ศ. 1274 และคำๆนี้ได้ถูกนำมาใช้เรียก อากาศยานพลีชีพ ของญี่ปุ่น ในสงคราม
โลกครั้งที่ 2 ซึ่งบรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึง นักบินผู้บังคับอากาศยาน ประเภทนี้ด้วย

คามิคาเซ ในมุมมองของชาวญี่ปุ่นผู้รักชาติ

 ปฏิบัติการของเหล่านักบินคามิคาเซ่ ที่ดูบ้าบิ่นเกินมนุษย์ในสายตาของชาวตะวันตก แต่ชาวญี่ปุ่น
กลับมีความคิด และความรู้สึกกับ หน่วยโจมตีพิเศษ นี้ด้วยความต้องการเสียสละ ไม่เคยขาดแคลนอาสาสมัคร
นักบินที่จะมาทำงานให้แก่ หน่วยโจมตีพิเศษพลีชีพคามิคาเซ่ มีจำนวนคนที่ต้องการจะมาเป็นนักบินพลีชีพ
มากกว่าจำนวนเครื่องบินที่มีอยู่ถึงสามเท่า

นักบินคามิคาเซ่  เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย  มากกว่า 90% ของนักบินนาวี "คามิคาเซ่" เกือบทั้งหมดอายุ
ระหว่าง18 - 24 ปี  นักบินกามิกาเซ่ใน ยุทธภูมิโอกินาวา ช่วงอายุอยู่ระหว่าง 17 - 22 ปี



เยาวชนญี่ปุ่นวันนี้ เกี่ยวข้องกับนักบินกองบินกล้าตาย เพราะช่วงวัยที่ใกล้เคียงกันของพวกเขา ในปี 1990 ภาพยนต์
สองเรื่องเกี่ยวกับ นักบินคามิคาเซ่ ได้รับการสนับสนุนแนะนำให้เยาวชนญี่ปุ่นในชั้นมัธยมปลายได้ชม จากกระทรวง
ศึกษาธิการประเทศญี่ปุ่น,ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติของผู้ปกครองและครู โดยยกการโฆษณาเรื่อง นักเรียนมัธยม
ปลายซึ่งคุณยายมีพี่ชายที่เสียสละชีวิต อาสาพลีชีพเป็น นักบินคามิคาเซ่



ในสงครามป้องกันมาตุภูมิ เด็กหนุ่มหลายคน อาสาสมัครพลีชีพ เป็น นักบินกองบินกล้าตายคามิคาเซ่
ปกป้องพ่อแม่,น้องชาย,น้องสาว,พี่สาว และคนรัก ปัจจุบันนี้มีหลายสิ่งที่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ สับสนในทิศทางขาด
ความเข้าใจ ในความหมายของความรักอันบริสุทธิ์ และสิ่งที่ต้องปกป้องหวงแหน ..วันนี้จำเป็นที่ต้องให้เยาวชนได้
ศึกษาเรียนรู้หลายสิ่ง จากวิถีชีวิตและแนววิธีคิดของเหล่า นักบินคามิคาเซ่

                      "พวกเขายอมพลีชีพ ด้วยความรู้สึกรักอันบริสุทธิ์
           ต่อแผ่นดินแม่ถิ่นเกิด ประเทศของเขา รักในธรรมชาติ และรักผู้คน"


                                        

26 พฤษภาคม 1945 สิบตรี ยูคิโอะ อาราคิ(อุ้มลูกสุนัข) ถ่ายรูปกับเพื่อนร่วมฝูงบินก่อนภารกิจพลีชีพ เสียชีวิต
ด้วยวัย 17 ปี จากการโจมตีเรือรบอเมริกันใน ศึกโอกินาวา ซึ่งเป็นนักบิน คามิคาเซ่ ที่อายุน้อยที่สุดที่พลีชีพ
          


เหตุการณ์นี้ เทียบเคียงที่เคยเกิดกับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตรัสเซีย กรณีผู้เสียสละยอม
พลีชีพแก้ไขสถานการณ์ร้ายแรง ... หาชมได้จากภาพยนต์ เรื่อง K-19: The Widowmaker ฉายในไทยใช้ชื่อ
ว่า ลึกมฤตยูนิวเคลียร์ล้างโลก เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของโซเวียต ที่ประสบอุบัติเหตุ
กัมมันตภาพรังสีรั่วไหล เนื่องจากระบบหล่อเย็นชำรุดขณะปฏิบัติการอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ดัดแปลง
จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเรือดำน้ำชั้นโฮเทล หมายเลข K-19 ที่ประสบอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1961

 

                                 คลิ๊กอ่าน   คามิคาเซ Kamikaze
                                                
Oka ซากุระร่วงโรย
                                                
ไคเต็น Kaiten
                                                
การโจมตีแบบพลีชีพ (Suicide Attack)







ไม่มีความคิดเห็น: