อาเศียรวาท แปลว่า น. คําอวยพร (เป็นคำที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่).
อาศิรพจน์, อาศิรพาท, อาศิรวจนะ, อาศิรวาท, อาเศียรพจน์, อาเศียรพาท, อาเศียรวจนะ
สืบเนื่องจากมีผู้ตั้งคำถามต่อบทอาเศียรวาท ที่ตีพิมพ์ในมติชน ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมาว่ามีความหมายอย่างไร
มีความกำกวมไม่เหมาะสมหรือไม่ บทอาเศียรวาท มีเนื้อความดังนี้
มีความกำกวมไม่เหมาะสมหรือไม่ บทอาเศียรวาท มีเนื้อความดังนี้
วันหนึ่งฟ้าสว่างกระจ่างแจ้ง ลมแล้งในใจไห้โหยหาย
ข้าวกล้านาไร่ได้กลิ่นอาย ยามฝนขวนขวายมุ่งหมายมา
วันหนึ่งเมฆคลุ้มเป็นกลุ่มก้อน ลมร้อนลมเย็นเป็นปัญหา
พฤกษ์พุ่มชอุ่มช้ำท่วมน้ำตา ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร
ข้าวกล้านาไร่ได้กลิ่นอาย ยามฝนขวนขวายมุ่งหมายมา
วันหนึ่งเมฆคลุ้มเป็นกลุ่มก้อน ลมร้อนลมเย็นเป็นปัญหา
พฤกษ์พุ่มชอุ่มช้ำท่วมน้ำตา ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร
ต่อไปนี้ คือคำอธิบายจากผู้ประพันธ์บทอาเศียรวาทดังกล่าว
"....อาเศียรวาทสองบทนี้ มีความหมายตรงตามตัวอักษรทุกประการด้วยวิธีการเขียนบทกวีที่มีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ จึงใช้วันฟ้าสว่างกับวันฟ้ามืดครึ้ม
วันฟ้าสว่างนั้นแม้แต่ลมแล้งในใจผู้คนที่โหยไห้ก็ยังหาย ข้าวกล้านาไร่ยังได้กลิ่นอายฝนที่มุ่งหมายมาตกต้องตามฤดูกาลย่อมหมายถึงความ
สว่างในพระบรมเดชาเมตตาบารมี ที่ปกเกล้าพสกนิกรและทุกสรรพสิ่ง อันเนื่องมาจากพระวิริยะอุตสาหะเช่นฟ้าฝน ชลประทาน หรืออ่างเก็บ
น้ำอันยังประโยชน์สม่ำเสมอแก่ไร่นา
ดังนั้น เมื่อมีวันมืดครึ้ม ซึ่งแม้แต่ธรรมชาติปัจจุบันเช่นที่เห็นกันก็ผันผวน เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็นเป็นปัญหา
จึงมีหรือที่จะไม่นึกฝันถึงวันฟ้าสว่าง วันที่กระจ่างแจ้งร่มเย็นอยู่ในพระบรมโพธิสมภาร ว่าดีอย่างไร ดีขนาดไหน คือความหมายซึ่งอธิบายได้
ตามตัวอักษรทุกวรรคตอน
อนึ่ง ที่ยังมีข้อสงสัยต่อความหมายในบาทสุดท้าย ที่ว่า"ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร" นั้น
หากติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา ย่อมเห็นแล้วว่า ปัจจุบันมีปัญหามากมาย ที่ทำให้คนส่วนมากเดือดเนื้อร้อนใจ มีแต่คนส่วนมาก
เรียกร้องความสงบสุขในสังคม เพื่อจะได้ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน
เช่นนี้แล้ว ทำไมจึงจะไม่คิดถึงล่ะว่าวันที่ฟ้าสว่างกระจ่างแจ้งนั้นดีอย่างไร
วันที่ธรรมชาติดำเนินไปอย่างถูกต้องเหมาะสมตามฤดูกาล ไร่นาประชาชนสมบูรณ์ วันที่พระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาล ปราศจากฝุ่นละอองใดๆ
มาแผ้วพาน"
กองบรรณาธิการหวังว่า คำอธิบายความหมาย สัญลักษณ์ และเจตนาของผู้ประพันธ์ น่าจะสร้างความกระจ่างและทำให้เกิดการตีความที่สอด
คล้องกับความมุ่งหมายของผู้ประพันธ์
กองบรรณาธิการมติชน
6 ธันวาคม 2555
6 ธันวาคม 2555
กรณีบทอาเศียรวาทของ นสพ มติชน ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม 2555 บานปลายไปใหญ่โตแล้ว
เมื่อประชาชนคนอ่านได้แสดงความเห็นว่า กำกวม คลุมเคลือ ผ่านทางโลกโซเชียล มีเดีย
จน กองบรรณิการ นสพ. มติชน ต้องชี้แจงผ่านเว็บไซต์ในตอนสายของวันที่ 6 ธค 55 แม้จะ
อธิบายอย่างลงลึกถึงแต่ละวรรคตอนแล้วก็ตาม ทว่า ประชาชนก็ยังเห็นค้าน จนมีการเขียน
กลอนตอบโต้หลายบทจากหลายคน โดยล่าสุด นักแปลชื่อดังของเมืองไทย "นิดา"
ปราศรัย รัชไชยบุญ ได้เขียนกลอนสอนมวยอาเศียรวาทของมติชนอีกคนหนึ่ง โดยฝากนำ
เสนอผ่านบนหน้า Fb ของ นพ.พงศกร จินดาวัฒนะ "หมอโอ๊ด" นักเขียนนวนิยายชื่อดังเจ้า
ของผลงาน สาปภูษา –รอยไหม –กี่เฟ้า และ ส่าหรี ดังนี้คือ
"อาเศียรวาท ชาติขี้ข้า ไม่รู้จัก
ยักเยื้องนัก นำมาใช้ ให้วิปริต
ซ้ำเฉไฉ ไขว้เขว เจ้าเล่ห์คิด
ให้หลงผิด โง่งั่ง ทั้งโคตรมัน
ยักเยื้องนัก นำมาใช้ ให้วิปริต
ซ้ำเฉไฉ ไขว้เขว เจ้าเล่ห์คิด
ให้หลงผิด โง่งั่ง ทั้งโคตรมัน
"ผรุสวาท" เท่านั้น มันเข้าใจ
พ่อแม่มัน เลือกใช้ สอนลูกหลาน
ให้ทรยศคดข้อส่อสันดาน
ก้มหน้าคลานซานซมดมกลิ่นเงิน"
พ่อแม่มัน เลือกใช้ สอนลูกหลาน
ให้ทรยศคดข้อส่อสันดาน
ก้มหน้าคลานซานซมดมกลิ่นเงิน"