วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หัวหมู่ทะลวงดัน "มัลลิกา"

โดย….ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

Posted Image
ภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา / พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สว.สรรหา

หมายเหตุ : เนื้อหาการซักถามและตอบโต้กันระหว่าง นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา
ฐานะผู้ถูกร้องที่ 6 กับ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สว.สรรหา ในฐานะพยานผู้ร้อง เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ต่อหน้า องค์คณะ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่าการ
เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 เป็นการล้มลางการปกครองหรือไม่


:down:

ภราดร : พล.อ.สมเจตน์ทราบหรือไม่ว่าในพ.ศ.2491และ 2539 ได้เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ2490 และ 2534
พล.อ.สมเจตน์ : ทราบครับ

ภราดร : เมื่อท่านทราบหมายความว่าทราบด้วยว่าขณะนั้นมีการตั้งส.ส.ร.(สภาร่างรัฐธรรมนูญ)เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
พล.อ.สมเจตน์ : ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมที่แตกต่างกันไม่จำเป็นว่าสถานการณ์ขณะหนึ่งทำได้ และสถานการณ์อีกขณะหนึ่ง
จะทำได้ ไม่จำเป็น

ภราดร : ทราบหรือไม่ว่าปี 2539 ได้มีการรณรงค์ธงเขียวและธงแดงมีการแตกทางความคิดของสังคมขณะนั้นมีบางส่วนไม่เห็นด้วย
ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534
พล.อ.สมเจตน์ : รัฐธรรมนูญ 2534 ทีมีการแก้ไขนั้นไม่มีเรื่องว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และต้องดูบริบทของสังคมที่มันแตกแยก
กันอย่างสิ้นเชิง บริบทของสังคมที่ไม่เหมือนกันขณะนั้นสังคมมีความหวังว่าต้องการปลดจากเผด็จ การทหารเพื่อให้นายกรัฐมนตรีจาก
การเลือกตั้ง ฝ่ายทหารที่เป็นผู้ถืออำนาจในขณะนั้นมิได้คัดค้านหรือโต้แย้งใดๆถึงแม้ว่าจะ มีการดำเนินการไปก็มีความหวังว่าจะได้เห็น
การพัฒนาของระบอบประชาธิปไตยที่ดี ซึ่งก็สมหวังได้ทั้งสิทธิเสรีภาพแต่ขณะนั้นมีกรอบมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาชุดหนึ่งวาง
กรอบของรัฐธรรมนูญ 2540 ว่าจะมีกรอบอย่างไร มีทิศทางอย่างไรเห็นชัดเจนว่าเมื่อร่างออกมาแล้วก็เป็นความหวังของชนชาวไทย ว่า
จะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ดี แต่สังคมขณะนี้มีความไม่มั่นใจเกิดขึ้น

ภราดร : ปี2539 ขณะนั้นก็มีความแตกแยกทางสังคมในเรื่องรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน บริบททางสังคมจึงไม่มีความแตกต่างกันกับ2550
พล.อ.สมเจตน์ : การใช้ธงเขียวขณะนั้นเป็นการรณรงค์ให้รัฐสภารับรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขไม่รณรงค์ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ภราดร : เมื่อท่านทราบว่าในประวัติศาสตร์ได้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญเพื่อตั้งส.ส.ร.แล้ว 2 ครั้ง ท่านทราบหรือไม่ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 7
บัญญัติไว้ว่าเมื่อไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมิได้บังคับแก่กรณีใดให้ วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พล.อ.สมเจตน์ : แล้วเกี่ยวอะไรกับคำถามท่าน…ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม
ชาวบ้าน :คำก็ บริบท 2 คำก็บริบท ตกลงว่าคำตอบคือบริบท ลื่นสเตนเลส จริงๆ

ภราดร : เมื่อปี 2549 ท่านร่วมอยู่ในคณะปฎิวัติหรือไม่
พล.อ.สมเจตน์ : ไม่ได้ร่วมครับ
ชาวบ้าน : ท่านสตอร์เบอรรี่ นะครับ

ภราดร : ท่านเป็นเลขาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติใช่หรือไม่
พล.อ.สมเจตน์ : ผิดครับ
ชาวบ้าน : ท่านด้าน ครับ

ภราดร : แล้วท่านดำรงตำแหน่งอะไรในขณะนั้น
พล.อ.สมเจตน์ : ท่านยังไม่ทราบเลยท่านมาถามผมแล้ว
ชาวบ้าน : อันนี้ท่านตอบ ยียวนกวนตรีน นะครับ

ภราดร : ผมถามท่านก็ตามคำถามครับ
พล.อ.สมเจตน์ : ผมเป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติครับ
ชาวบ้าน : "ผมเป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ม่ายช่าย" หน.สนง. คมช. ยังไงของมรึงกรูเป็นงง
ไม่ได้ร่วมแต่มาเป็น หัวหน้าสำนักงานรัฐประหาร

ภราดร : ก็มีส่วนร่วมกับคณะปฎิวัติในขณะนั้น
พล.อ.สมเจตน์ : ผมไม่ได้ร่วมปฎิวัติครับ
ชาวบ้าน : แล้วท่านไป นั่งหัวโด่ในตำแหน่ง คมช. ทำแป๊ะอาไร เล่าครับ ถ้าไม่มีเอี่ยวด้วย ไม่ทราบว่ามรึงเอ้ยท่านฉลาด
หรือกรูชาวบ้านโง่กันแน่ว๊ะ

ภราดร : ผมถามท่านว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
พล.อ.สมเจตน์ : ก็ได้เรียนท่านไปแล้วว่านั่นคือการล้ม ล้างการปกครองครับและมันก็ไม่ได้แตกต่างกับวิธีการของท่านที่จะมาร่างรัฐ
ธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาแล้วนำไปสู่การล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 มันแตกต่างกันตรงไหนครับ
ชาวบ้าน : อันนี้ท่านตอบ ตรงกับกระบวนการ ค ว ย ครับ โดยใช้กรรมวิธี คิด วิเคราะห์ และ แยกแยะ

ภราดร : การกระทำขณะนั้นเป็นการกระทำโดยการฉีกรัฐ ธรรมนูญ แต่การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งหมดกระทำตามรัฐธรรมนูญ 291 นี่คือ
ความแตกต่างชัดเจน พวกผมกระทำการตามระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนท่านฉีกรัฐธรรมนูญ
พล.อ.สมเจตน์ : แล้วผลการกระทำของท่านมันฉีกรัฐธรรมนูญหรือไม่ครับ
ชาวบ้าน : เฮ้ย โจร ทะลึ่งมาอบรมสั่งสอนชาวบ้าน แถมยัดเยียดความเป็นโจรให้อีก ชาวบ้านปล้นโจรหรือยังไงว๊ะเนี่ย

ภราดร : การกระทำของผม เป็นเพียงเพื่อตั้ง ส.ส.ร. ส่วน ส.ส.ร.จะไปการอย่างใดนั้นเหนืออำนาจการตัดสินใจของพวกผม



สมเจตน์ไม่ได้ร่วมรัฐประหาร2549 กับบังบัง น๊ะ

Posted Image

พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม

บทบาททางด้านการเมือง พล.อ.สมเจตน์ เป็นนายทหารที่มีความสนิทสนมและคุ้นเคยกับ พล.อ.วัฒนชัย วุฒิศิริ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด(ผบ.สส.) และ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ด้วยความที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาก่อน หลังการ รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.สมเจตน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะสำนักงานเลขาธิการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ด้วยความที่ใกล้ชิดและสนิทสนมกับ พล.อ.วินัย ซึ่งเป็นเลขาธิการ ซึ่งใน การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พล.อ.สมเจตน์ได้รับหน้าที่ให้ดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างสุจริต โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จึงพบความทุจริตในการเลือกตั้งของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งเป็นที่มาของคดียุบพรรคพลังประชาชน ในเวลาต่อมา

นอกจากนี้แล้ว พล.อ.สมเจตน์ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารที่มีบุคลิกตรงไปตรงมา กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ได้ให้สัมภาษณ์ว่าหาก รัฐบาลในขณะนั้น ไม่สามารถจัดการปัญหาการชุมนุมได้ ก็ให้ลาออกเสียและยังเสนอให้ กองทัพทำการรัฐประหาร ส่งผลให้ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลไม่พอใจ เสนอให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรม และต่อมายังให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ด้วยท่าทีที่รุนแรงไม่หวั่นเกรงอิทธิพล

และยังเป็นผู้ ตั้งค่าหัว พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเงินรางวัล 1 ล้านบาท สำหรับผู้ที่สามารถนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับสู่ประเทศไทยได้ และยังได้แต่ง หนังสือของตนเองชื่อ "หัวหมู่ทะลวงฟัน ระบอบทักษิณ" (เรียบเรียงโดย มัลลิกา บุญมีตระกูล)


Posted Image




ไม่มีความคิดเห็น: