‘Straddling Bus’
ระบบรถโดยสารยกคล่อมพื้นผิวทาง ‘สเตรดดิ้ง บัส’
ระบบรถโดยสารยกคล่อมพื้นผิวทาง ‘สเตรดดิ้ง บัส’
ระบบการขนส่งมวลชนในเมืองขนาดใหญ่ ที่สมดุลย์และลงตัว โดยไม่ต้องใช้
งบประมาณลงทุนสูงมหาศาล ใช้เงินลงทุนเพียง 500 ล้านหยวน (2.4 พันล้านบาท)
แถมระยะเวลาในการก่อสร้างก็สั้นกว่าเมื่อเทียบกับรถไฟใต้ดินและในระหว่างการก่อสร้าง
ก็ไม่ก่อเกิดผลกระทบกระเทือนต่อสภาพพื้นผิวการจราจรและสภาพแวดล้อมมากนัก
China building giant bus that you can drive under
จีนวางแผนที่จะสร้าง รถโดยสารขนาดยักษ์ที่ห้องโดยสารอยู่สูงคล่อมถนน รถบัสจะอยู่บน
พื้นผิวการจราจร โดยที่การหยุดจอด รับ-ส่ง/ขึ้น-ลง ของผู้โดยสารจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพ
การจราจร
และ การเพิ่มจำนวนของรถบัสแบบนี้ในชม.เร่งด่วน ไม่ทำให้รู้สึกถึงความแออัดยัดเยียด หรือ
ปริมาณรถ ที่เพิ่มขึ้นบนท้องถนน
รถโดยสาร"สเตรดดิ้ง บัส" มีความสูง 4.5-5.5เมตร กว้าง 6เมตร ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
และพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับการออกแบบให้เป็นรถโดยสารที่มี 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องโดยสาร
ส่วนชั้นล่างเปิดโล่งเพื่อให้รถยนต์ที่มีความสูงไม่เกิน 2 เมตรวิ่งลอดใต้ท้องรถได้ จึงไม่กีดขวาง
การจราจรแม้ในขณะจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร สามารถรองรับประชาชนได้ครั้งละ 1,200-1400 คน
และวิ่งได้ด้วยความเร็ว 40-60 ก.ม./ช.ม. สามารถใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติ(auto-pilot)
เพื่อให้รถวิ่งตามเส้นสีขาวที่กำหนดไว้ได้
บริเวณด้านข้างเหมือนรถไฟใต้ดิน และ แบบขึ้น-ลงทางบันไดที่อยู่ภายในตัวรถ
แนวคิดรถโดยสารที่ได้ออกแบบนี้ จะเป็นทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมสำหรับเมืองใหญ่ในประเทศจีน
โครงการนี้ได้เสนอโดย บริษัท เซินเจิ้น ฮาชิ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างโครงการนำร่องระยะทาง 186
ก.ม. ที่เขตเหมินโถวโกว ในกรุงปักกิ่งราวปลายปีนี้
เป็นไอเดียที่น่าสนใจ สำหรับเมืองใหญ่ๆ ที่มีการจราจรแออัดคับคั่ง เช่น กรุงเทพมหานคร
(เพียง 10% ของค่าก่อสร้างรถไฟใต้ดิน)
.... ขอเสนอแนวคิดนี้แด่พรรคเพื่อไทย ด้วยครับ

สถานีจอดรับส่งผู้โดยสาร ลักษณะเดียวกับสถานีรถไฟลอยฟ้า มี 2 แบบ
คือ สถานี เข้า-ออกรถ ด้านข้าง และ สถานนี ขึ้น-ลงรถ ด้านบน
ทัศนียภาพมุมมองภายนอก
ระบบเซนเซอร์เตือนภัยด้านท้ายสำหรับรถยนต์ที่ตามหลัง แจ้งเตือนความสูงเกินพิกัด 2 เมตร ห้ามลอดผ่าน
ระบบเซนเซอร์เตือนภัย แจ้งระยะปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่วิ่งลอดใต้ท้องรถบัส มิให้วิ่งใกล้ล้อรถมากเกินไป
พร้อมมีสัญญาณไฟ บอกให้รถที่วิ่งเคียงคู่อยู่ทางด้านล่าง รู้ล่วงหน้าว่ารถบัสจะวิ่งเลี้ยวไปในทิศทางใด
ชานชาลาสถานีจอดรับส่งผู้โดยสาร ,ห้องโดยสารรถบัส และห้องพนักงานควบคุมรถ
ภายในห้องโดยสาร แสดงทางเข้าออก 2 แบบ คือ แบบให้ผู้โดยสารเข้า-ออก
บริเวณด้านข้างเหมือนรถไฟใต้ดิน และ แบบขึ้น-ลงทางบันไดที่อยู่ภายในตัวรถ
บริเวณด้านข้างเหมือนรถไฟใต้ดิน และ แบบขึ้น-ลงทางบันไดที่อยู่ภายในตัวรถ
ภาพแสดง วงเลี้ยวของระบบรถ‘สเตรดดิ้ง บัส’
เสาอุปกรณ์ส่งพลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนรถ และเซนเซอร์ควบคุมตำแหน่งการจอดเทียบประตูชานชาลาสถานี
โปรเจค รถบัสยักษ์
อันนี้เอามาให้ชมเล่นๆกันครับ สำหรับไอเดียของคนกว่าครึ่งศตวรรษที่แล้ว
ภาพจากการออกแบบลงพิมพ์ใน นิตยสาร "Modern Mechanics" มิถุนายน 1930
รถบัสขนาดมหึมา มีลานบินบนชั้นดาดฟ้าหลังคา และเครื่องบินประจำ
โรงแรม 3 ชั้น รองรับผู้โดยสาร พร้อมสระว่ายน้ำ ห้องบิลเลียด ฟลอร์ลีลาส
ลิฟท์ทางขึ้น 4 ระดับชั้น เส้นทางเดินรถคือ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เอ้ย..
ระหว่าง นิวยอร์ค-ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
โฆษณาว่า เป็นการเดินทางที่แปลกใหม่ แตกต่างจากโดยทางรถไฟ
ทั้งมีบริการเสริม สำหรับผู้โดยสารที่ ต้องการลงและนำส่งในกรณีพิเศษ
หรือรับขึ้น ระหว่างทาง นอกเส้นทางจอดรถ ด้วยเครื่องบินรับ-ส่ง
เทคโนโลยี่ในยุคสมัยนั้น น่าจะสร้างได้ไม่ยากนัก เพียงแต่ จะหาถนนที่ไหน
ให้วิ่งได้ทั่วแคว้นแดนดิน เท่านั้นแหละ ผมว่า!
![[ภาพ: 4eca3c63.jpg]](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uEML3cLUSq-yP7wl0tAUIq2rDYYsNocdap3iFVNkzZ0MaZsafZFY5g82RVJau0wg3rheM_82NRpUmE-dPlOiWdFbxVAVKlNVT7D45fszoqITpXMwHR1KDWVrnD6oS9eb0UGzyF7g=s0-d)
![[ภาพ: 90940a40.jpg]](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_ssfGT9YPB4oxHhm7cKemimpnps0rQXCC-pXBzQFd4Eez2pBtWghtSBpANjuuQYch9yln0GCS-o_T6LBWddv1KukFHcNgqvbowH_wqP4TvU3lH4PYSM090wYfBMnFQxw-E02Zs2UA=s0-d)
อันนี้เอามาให้ชมเล่นๆกันครับ สำหรับไอเดียของคนกว่าครึ่งศตวรรษที่แล้ว
ภาพจากการออกแบบลงพิมพ์ใน นิตยสาร "Modern Mechanics" มิถุนายน 1930
รถบัสขนาดมหึมา มีลานบินบนชั้นดาดฟ้าหลังคา และเครื่องบินประจำ
โรงแรม 3 ชั้น รองรับผู้โดยสาร พร้อมสระว่ายน้ำ ห้องบิลเลียด ฟลอร์ลีลาส
ลิฟท์ทางขึ้น 4 ระดับชั้น เส้นทางเดินรถคือ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เอ้ย..
ระหว่าง นิวยอร์ค-ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
โฆษณาว่า เป็นการเดินทางที่แปลกใหม่ แตกต่างจากโดยทางรถไฟ
ทั้งมีบริการเสริม สำหรับผู้โดยสารที่ ต้องการลงและนำส่งในกรณีพิเศษ
หรือรับขึ้น ระหว่างทาง นอกเส้นทางจอดรถ ด้วยเครื่องบินรับ-ส่ง
เทคโนโลยี่ในยุคสมัยนั้น น่าจะสร้างได้ไม่ยากนัก เพียงแต่ จะหาถนนที่ไหน
ให้วิ่งได้ทั่วแคว้นแดนดิน เท่านั้นแหละ ผมว่า!
1 ความคิดเห็น:
ย อ ด เ ยี่ ย ม ป า ย..รุ ย...
แสดงความคิดเห็น