วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

"จนท.พิทักษ์ป่า" 12,000 นายทั่วประเทศ และอาวุธประจำกาย HK-33

               

เฮคเลอร์แอนด์คอช เอชเค 33 (อังกฤษ: Heckler & Koch 33 HK33) RIFLE,AUTOMATIC, CAL. 5.56 MM.
HK 33 เป็นปืนเล็กยาว พัฒนาโดยบริษัทเฮคเลอร์แอนด์คอช ประเทศเยอรมนี ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 โดยพัฒนามาจากปืนเล็กยาว
เฮคเลอร์แอนด์คอช จี3 ซึ่งเป็นขนาด 7.62x51 มม. มีประจำการในกองทัพ บราซิล ไอร์แลนด์ ตุรกี และได้รับสิทธิ์ผลิตใช้ใน
กองทัพ ไทย และ มาเลเซีย

HK33 เป็นปืนเล็กยาวที่สามารถยิงได้ทั้งทีละนัด และยิงเป็นชุดการทำงานของเครื่องกลไกเป็นแบบ Delayed Blowback และใช้
การขัดกลอนด้วยลูกกลิ้ง  ซึ่งเป็นตัวขัดกลอนและหน่วงเวลาในการเปิดรังเพลิง ใช้ซองกระสุน 2 ชนิดคือ ชนิดบรรจุได้ 20 นัด และ
บรรจุได้ 40 นัด ใช้กระสุน ขนาด 5.56 มม.x45 mm. NATO ใช้กระสุนขนาดเดียวกับ M16  มีอัตราการยิงประมาณ 650 นัด/นาที


                        

กองทัพไทย ปืน HK33 ปืนชนิดเดียวที่คนไทยมีลิขสิทธิ์ และได้ชื่อว่าสามารถผลิตได้เอง เป็นอาวุธประจำกายทหารไทยที่ทั่วโลก
รับรอง ได้ขออนุญาตใช้สิทธิบัตรเพื่อนำมาผลิตเองโดยกรมสรรพาวุธทหารบก (สพ.ทบ.) และเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2511 โดยใช้
ชื่อ ปืนเล็กยาว แบบ 11 หรือ ปลย.11 สำหรับทหารบก หรือ ปืนเล็กยาวอัตโนมัติ ขนาด 5.56 มม. เอชเค 33 หรือ ตัวย่อ
ปลยอ.5.56-3 สำหรับทหารอากาศ

                        

ปัจจุบันยังประจำการอยู่ในบางหน่วยของกองทัพไทย และใช้สำหรับฝึกยิงปืนด้วยกระสุนจริงของนักศึกษาวิชาทหาร
เพื่อให้เกิดความคุ้ยเคย

                

“อาวุธ ที่กรมอุทยานเบิกจ่ายให้เจ้าหน้าที่ระหว่างการลาดตระเวนคือ ปืน เอชเค 33 และปืนลูกซอง
    ในขณะที่บ่อยครั้งเราพบว่าฝ่ายตรงข้ามใช้ อาวุธครบมือที่ทันสมัยกว่ามาก ทั้งปืนกล อาก้า
                ส่วนของเรานั้น เอชเค 33 ที่มีอยู่พบว่า เกือบทั้งหมดใช้มา 20-30 ปีแล้ว"


จนท.พิทักษ์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทั่วประเทศนั้น ขาดแคลนอาวุธปืน อีกประมาณ 6,500 กระบอก
ซึ่ง จำนวนนี้ ต้องนำไปเสริมกับอาวุธเก่าที่มีอยู่แล้ว แต่ยังสามารถใช้การได้ดีอยู่ นอกจากอาวุธปืนแล้ว เจ้าหน้าที่ยังต้องการ เสื้อเกราะกัน
กระสุนระหว่างปฏิบัติงานด้วย เพราะที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของกรมอุทยานฯไม่เคยมีเสื้อเกราะกันกระสุนใช้ระหว่าง การปฏิบัติหน้าที่
เลย ทั้งๆที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมาก

ปัจจุบัน ปืนของเก่าที่กรมอุทยานมีอยู่และยังใช้งานได้ประมาณ 6,000 กระบอก เป็นปืน เอชเค 33 และ ปืนลูกซอง แต่ที่อยู่ระหว่าง
การขอซื้อใหม่นั้น เป็นปืนกลชนิดยิงเร็ว แต่ยังไม่ได้ระบุรุ่น และปืนลูกซองยาว 7 นัด เพราะเวลานี้ ไม่มีการผลิต ปืนเอชเค 33 ออกมาขาย
อีกแล้ว และยังมี เสื้อเกราะกันกระสุน ซึ่งขอเป็นชนิดเกราะอ่อนไป ราคาทั้งเสื้อเกราะและปืน น่าจะอยู่ที่ประมาณ ตัวและกระบอก ละ
 70,000-100,000 บาท

       เป็นเรื่องที่ ได้ผลักดันให้พนักงานพิทักษ์ป่าประมาณ 12,000 นายทั่วประเทศ
                                              
ย้อนไปเมื่อ 20-30 ปีก่อน เราอาจนึกถึงภาพ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในแบบชายชาวบ้านผู้อุทิศตนเพื่อรักษาป่าไม้ สะพายปืน
บนบ่าเดินท่อมๆ ขึ้นเขาลงห้วย ไปไล่จับพรานที่เข้ามาล่าสัตว์บ้าง ปะทะกับพวก “มอดไม้” บ้าง แต่ภาพเหล่านั้นห่างไกลกับในวันนี้
ที่มี “สมาร์ตพาโทรลเรนเจอร์” (Smart patrol ranger) หรือ "หน่วยลาดตระเวนเชิงคุณภาพ" ที่ได้รับการพัฒนาเทคนิควิธีทั้ง
“บู๊” และ “บุ๋น” เพื่อคุ้มครองป่าไม้ รู้จักใช้อุปกรณ์เดินป่าที่เหมาะสมและทันสมัย ไม่ว่า เครื่องจีพีเอส กล้องถ่ายรูปดิจิทัล
กล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า
และ ซอฟแวร์ภูมิศาสตร์สารสนเทศ

“ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ถูกนำมาใช้ในเมืองไทยครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเมื่อปี 2549 ตามด้วยเขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เดิมทีเราตั้งเป้าให้ระบบนี้ครอบคลุมผืนป่าตะวันตกทั้งหมด
ภายในระยะเวลา 5 ปี เป้าหมายคือเพิ่มประชากรเสือโคร่งขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์”

มิติด้านคุณภาพของคน หมายถึงเจ้าหน้าที่ต้องแข็งแกร่ง อดทน ดำรงชีวิตในป่าได้ ใช้อาวุธปืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมิติด้าน
อุปกรณ์ โดยเฉพาะเครื่องจีพีเอส กล้องดิจิทัล และซอฟแวร์โปรแกรมจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล

      

                        เจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (Park Ranger)

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า (Forest Ranger) หรือ เจ้าหน้าที่พิทักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife Ranger) คือ บุคคล
ผู้ทำหน้าที่คุ้มครองและรักษาอุทยานแห่งชาติ อุทยานประจำรัฐหรือจังหวัด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่คุ้มครองทางธรรมชาติต่างๆ

แต่ละประเทศก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป Ranger เป็นชื่อเรียกของ ผู้พิทักษ์ป่า ในประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ สหราชอาณาจักร

ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา Park Ranger คือผู้พิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ใน กรมอุทยานแห่งชาติ (National Park Service ) ส่วน
Forest Ranger คือ ผู้พิทักษ์ป่าในกรมป่าไม้ (Forest Service ) ประเทศอื่นๆ ใช้คำว่า park warden หรือ game warden เพื่อ
เรียกอาชีพนี้ คำจำกัดความซึ่งอธิบายลักษณะงานของ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าก็คือ

“ผู้ทำหน้าที่ปกป้องมนุษย์ให้พ้นจากภัยธรรมชาติ และการปกป้องธรรมชาติให้พ้นจากการทำลายของมนุษย์”
ซึ่งการทำหน้าที่พิทักษ์ป่าจะต้องใช้ความรู้ ความชำนาญหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติวิทยา ชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
กฎหมาย เป็นต้น






ไม่มีความคิดเห็น: